วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
วิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิต
สมมติฐานการเกิดสุริยจักร
ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีสมมุติฐานและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิดโลกและสุริยจักรที่สำคัญและได้รับความนิยมมากมาย
ซึ่งทฤษฎีหลักๆที่สำคัญเกี่ยวกับการกำเนิดสุริยจักร
ที่ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
สมมติฐานเนบิวลาร์ (Nebular hypothesis)
ในปี ค.ศ. 1755 คานท์
(Immanuel Kant) นักฟิสิกส์ชาวเยอร์มัน ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับ
เนบิวลาร์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่ออธิบายการกำเนิดของระบบสุริยะ หลังจากนั้นอีกราว 40
ปีเศษ คือ ในปี ค.ศ. 1796 ลาพลาส (Pierre Simon de Laplace)
นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ได้เสนอรายละเอียดเพิ่มเติมสมมติฐานเนบิวลาร์ของคานท์
เพื่อให้สมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น สมมติฐาน นี้เสนอว่า
แต่เดิมระบบสุริยะเป็นกลุ่มก้อนก๊าซและฝุ่นขนาดมหึมา (nebular) (ดูรูป 1.2 ก.)
มีการหมุนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ เนื่องจากกลุ่มก๊าซมีการหดยุบตัวและหมุน
ทำให้กลุ่มก๊าซมีสภาพโป่งออก
ตามแนวศูนย์สูตรและแบนลงมีรูปร่างคล้ายเลนส์นูนบางๆ
หรือคล้ายจานสองอันประกบกัน
ส่งผลให้กลุ่มก๊าซหมุนได้เร็วขึ้นและมีความหนาแน่นตรงกลางมากขึ้น (ดูรูป 1.2 ข.)
กลุ่มกาซหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ
จนทำให้มวลสารบริเวณรอบนอกถูกสกัดออกมาเป็นวงแหวนทีละชั้น
ส่วนบริเวณศูนย์กลางประกอบด้วยกลุ่มก๊าซจำนวนมหึมารวมตัวกันด้วยแรงดึงดูดที่มากขึ้นและชนกันจนก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้พลังงานมหาศาลและก่อเกิดเป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่คือดวงอาทิตย์
(ดูรูป 1.2 ค.)
ต่อมาฝุ่นละอองในวงแหวนเหล่านั้นแต่ละวงเกิดการรวมตัวกันเองเป็นกลุ่มก้อนและเย็นลงกลายเป็นดาวเคราะห์แรกเริ่มหมุนรอบตัวเอง
และหมุนรอบจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์
แสดงการเกิดของสุริยจักรตามสมมติฐานเนบิวล่าร์
(ก.) กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองในอวกาศมีการยุบตัว และหมุนช้าๆ
(ข.) กลุ่มก๊าซหมุนเร็วขึ้น ทำให้มีลักษณะแบนคล้ายเลนส์นูนบางๆ
(ค.) มวลสารบริเวณรอบนอกถูกสกัดออกมาเป็นวงแหวนทีละชั้น
(ง.) มวลก๊าซและฝุ่นเกาะกันรวมตัวเป็นดาวเคราะห์มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง
อย่างไรก็ตามหากสมมุติฐานของคานท์และลาพลาสเป็นจริงแล้ว ดวงอาทิตย์ที่อยู่ตรงกลางของสุริยจักรและมีมวลมากที่สุดจะต้องมีโมเมนตัมเชิงมุมมากที่สุด แต่ในความจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์พบว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของดาวเคราะห์ที่หมุนรอบวงอาทิตย์ สมมติฐานนี้จึงค่อย ๆ เสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา
สมมติฐานการเกิดสุริยจักร
สมมุติฐานดวงดาวชนกัน (Planetesimal hypothesis)
ทฤษฎีร่วมสมัย (Contemporary Theory)
วิวัฒนาการของโลก
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของมนุษย์
เผ่าพันธุ์มนุษย์ (Race of Mandkind)