วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ข้อตกลงโลกร้อนที่เป็นธรรม
ความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ
เศรษฐกิจ
ความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการป้องกันและปรับตัว
เกษตรกรรมและประมง
สุขภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพและถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ
ชายฝั่งและประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก
ทรัพยากรน้ำ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ความยากจนและหิวโหย
พลังงานและอุตสาหกรรม
ความขัดแย้ง ผู้อพยพจากปัญหาสิ่งแวดล้อม สิทธิของชนพื้นเมือง
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
51.
มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำฝนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง
900 เปอร์เซนต์ และถือเป็นการเพิ่มขึ้น 40
เปอร์เซนต์ของจำนวนระดับน้ำฝนที่มากที่สุด
52. มูลค่าความเสียหายจากพายุไซโคลนฤดูร้อนในเอเชีย เพิ่มขึ้น 35 เท่า
ในช่วงปี 1990 จากช่วงปี 1970 และความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยในเอเชียเพิ่มขึ้น 8
เท่า เช่นกันและมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นเช่นนนี้ต่อไปในอนาคต
53.
ความแห้งแล้งที่เพิ่มระดับความรุนแรงและความถี่ในหลายพื้นที่ในเอเชีย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับอุณหภูมิ
54. เอเชียถือเป็นพื้ืนที่ที่มีความแห้งแล้งอยู่แล้ว
โดยจะเห็นได้จากความแห้งแล้งที่เกิดจากปรากฎการณ์เอลนิโย่ ในปี 1997 และ1998
ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย
ปัญหาการขาดแคลนน้ำและไฟไหม้ป่าหลายแห่งในฟิลิปปินส์ ลาว และอินโดนีเซีย
ระดับความรุนแรงของพายุไซโคลนจะเพิ่มขึ้นในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งของเอเชียเนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น
การระเหยอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็ง จะทำให้เกิดการขยายตัวของน้ำในทะเลสาบน้ำแข็ง
และหากทะเลสาบน้ำแข็งแตกออกจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อพื้นที่โดยรอบ
อุทกภัยประเภทนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในประเทศเนปาล อินเดีย
ปากีสถาน ภูฎาน และจีน
55. ความถี่ของการเกิดไฟไหม้ป่าจะเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
56. บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ Swiss Re, กล่าวว่า 90% ของ
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนนั้น เกิดขึ้นในเอเชีย โดยตั้งแต่ปี 1970
มีคนตายครึ่งล้านคนจากเหตุหารณ์ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน
57. จำนวนระดับน้ำฝนที่จากมรสุมฤดูร้อนเพิ่มขึ้นอย่างมากในเอเชียใต้ เช่น
ในวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2005 ระดับน้ำฝนสูงถึงเกือบหนึ่งเมตร ใน
นครมุมไบในประเทศอินเดีย เป็นผลให้เกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม และพรากชีวิตผู้คนถึง
1000 คน