ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

อำนาจนิยม

บทวิพากษ์ลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ ตามทัศนะนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล

กระบวนทัศน์และแนวคิดนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
วิถีทัศน์และแนวคิดลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ
ลัทธิอำนาจนิยม กับการปรับตัวเชิงอำนาจ สู่อำนาจแบบเหตุผลนิยม ตามกรอบความคิดเชิงปรัชญา

ลัทธิอำนาจนิยม กับการปรับตัวเชิงอำนาจ สู่อำนาจแบบเหตุผลนิยม ตามกรอบความคิดเชิงปรัชญา

ปรัชญา เป็นองค์คุณที่ช่วยให้เกิดอุดมคติอันมีกำลังแรงในการที่จะกระตุ้นให้ปฏิบัติตามศาสนา หรือหน้าที่อื่นๆ ทำให้เกิดความเชื่อ ความเพียร และคุณธรรมอื่นๆ ที่เป็นตัวกำลังสำคัญด้วยกันทั้งนั้นอย่างมากพอที่จะไม่เกิดการท้อถอย โลเลหรือหันหลังกลับ โดยสรุปก็คือช่วยให้มีความเป็นปราชญ์ มีปัญญาเครื่องให้ดำเนินตนไปจนลุถึงปลายทางที่ตนประสงค์ ในระบบการเมืองที่มีจุดเน้นอยู่ที่การยกย่องและให้ความสำคัญกับอำนาจรัฐ และตัวผู้ปกครองมากกว่าประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน ทั้งนี้โดยยึดหลักกการที่ว่าประโยชน์ของรัฐย่อมมาก่อนประโยชน์ของบุคคล เกียรติภูมิของประเทศและอำนาจของชาติย่อมอยู่เหนือกว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเสมอ แต่โลกปัจจุบัน ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมยังปรากฏอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะในบรรดาประเทศเหล่านี้ พลังของประชาชนยังอ่อนแออยู่ ยังขาดการรวมตัวอย่างมีประสิทธิภาพในการที่จะสร้างประชาธิปไตย ขณะที่พลังอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยมทั้งหลายมีประสิทธิภาพในการรวมตัว มีความพร้อมและความได้เปรียบทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นแรงหนุน ทำให้ยังสามารถครอบงำทางการเมืองอยู่ได้ต่อไป เว้นเสียแต่พลังของประชาชนเข้มแข็งและเป็นความเข้มแข็ง ในระนาบของการจัดการด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพแก่ปวงชน

อย่างไรก็ตาม การแย่งชิงอำนาจกันระหว่างพลังทั่งสองฝ่ายนั้นได้ส่งผลให้ประเทศนั้นๆ ขาดเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนขาดการพัฒนาทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาในปัจจุบัน แต่เมื่อใดก็ตามที่พลังอำนาจนิยมกับพลังประชาธิปไตยสามารถประนีประนอมกันได้แล้ว การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองอันส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมย่อมเกิดขึ้นตามมาด้วย ลักษณะเช่นนี้ ปรากฏในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งอำนาจนิยมยังคงปรากฏอยู่ทั่วไป เพียงแต่จะมีมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น เป็นความมากและน้อยในระนาบของอำนาจนิยมที่เป็นไปในลักษณะที่มากกว่าปัญญานิยมในปรัชญาการเมือง และนั่นย่อมเป็นการก้าวไปสู่บทสรุปในยุคที่ต่ำสุดของการเมืองการปกครองที่ว่าเมื่อใดมนุษย์เราเหลือแต่ทรัพย์และอำนาจ ไม่มีปัญญาที่จะปกครองตนได้ เมื่อนั้น มนุษย์เราก็นับวันตายของตนได้เลย เพราะการปกครองโดยคนอื่นที่มีปัญญานั้นก็เดือดร้อนพออยู่แล้ว ครั้นต้องมาตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ที่ไร้ปัญญา มีแต่ทรัพย์และอาวุธเป็นสมบัติประจำตัวก็ยิ่งต้องเดือดร้อนขึ้นไปอีก

ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเช่นในอดีต การปกครองในลักษณะซึ่งปรากฏว่ามีอยู่มากเช่นนี้ย่อมเป็นการปกครองที่ทรมานและทารุณที่สุด เท่าที่ปัญญาของผู้ปกครองจะนึกได้ จนผู้อยู่ภายใต้การปกครองจะถึงแก่ความตายไปในที่สุด และนี่น่าจะเป็นมิติแห่งการใช้ความประนีประนอมแทนการใช้อำนาจเพื่อการสยบยอมต่อผู้ที่ยึดมั่นในเสรีประชาธิปไตย เช่นที่นักปรัชญาในสำนักเหตุผลนิยมได้เคยให้หลักการอันเป็นปฐมบทแห่งแนวคิดในลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ(Totalitarianism) แต่สมัยกรีกโบราณซี่งนับวันจะกลายเป็นเชื่อมรอยต่อระหว่างวิธีการทางการเมืองและการใช้อำนาจทางการเมืองที่แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง จนยากจะย้อนกลับมาเชื่อมต่อเช่นเดิม และนับวันจะยิ่งกลายเป็นแห่งจุดเปลี่ยนเชิงรัฐศาสตร์ที่มีความเป็นลบมากขึ้น เป็นความมากขึ้นที่อยู่ในระนาบของการมีท่าทีในแบบของปรัชญาทางการเมืองแนวปัญญานิยมน้อยลงไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่ความเป็นอำนาจนิยมอย่างเต็มรูปแบบอันเป็นระบบที่มีอยู่มากดังเช่นปัจจุบัน.อ้างอิง

  • กนกศักดิ์ แก้วเทพ และคณะ. (2529) วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3-4.(เมษายน- กันยายน) 2529 : 43–51.
  • กีรติ บุญเจือ. (2518) ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช .
  • คณาจารย์ภาควิชาปรัชญา. (2528) ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  • จุลชีพ ชินวรรโณ. (2542) จีน-ไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
  • ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2523) การเมือง-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
  • ชรินทร์ สันประเสริฐ. 2541) มนุษย์กับสังคม. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • ทองพูน บุณยมาลิก.(2524) ปรัชญาเบื้องต้น.(เอกสารอัดสำเนา) สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
  • ปรีชา ขวัญยืน. (2538) ปรัชญาแห่งอุดมการณ์ทางการเมือง.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2520) “การศึกษาจริยศาสตร์สังคมในพุทธศาสนาเชิงวิจารณ์” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. แผนกวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • พุทธทาสภิกขุ. (2545) ชุมนุมข้อคิดอิสระ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมทานมูลนิธิ.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2525) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษร เจริญทัศน์.
  • วิทยากร เชียงกูล. (2543) อธิบายศัพท์การเมือง การปกครองสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สายธาร.
  • วิจิตร เกิดวิสิษฐ์.(ผู้แปล). (2520) ปรัชญาอินเดียสังเขป. โดย เอ็ม หิริยันนะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์. (2526) แนวความคิดทางการศึกษาไทย 2411–2475. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ.
  • สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2527) ปรัชญาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
  • สุจิตรา (อ่อนค้อม) รณรื่น. (2540) ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษราพิพัฒน์ จำกัด.
  • สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2526) ทุนนิยมขุนนางไทย(พ.ศ. 2475–2503) . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์. 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย