ศาสนา
ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พุทธศาสนากับวัฒนธรรม
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านการเมือง
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านประเพณี
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านจิตใจ
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านภาษา
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านการศึกษา
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านสถาปัตยกรรม
อิทธิพลพุทธศาสนา : วัฒนธรรมไทยด้านประเพณี
เรื่องของประเพณีต่าง ๆ มีในทุกชาติทุกภาษา
ส่วนลักษณะจะแตกต่างไปประการใดก็แล้วแต่ลักษณะหรือสภาพของแต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละสังคม
เช่น ประเพณีไทยกับจีนต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่เรื่องกิริยา มารยาท การเลือกคู่
หมั้นหมาย แต่งงาน ตาย เป็นต้น
ส่วนสังคมไทยนั้นจะเป็นการสืบเนื่องมาจากการนับถือพุทธศาสนาก็จะมีอิทธิพลด้านพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เช่น ประเพณีการบวช เข้าพรรษา ออกพรรษา สงกรานต์ ลอยกระทง เทศน์มหาชาติ เป็นต้น
ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่าถูกต้องกว่า หรือ
เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม และมีการปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา เช่น การเกิด
การตาย การหมั้นหมาย สมรส บวช ปลูกบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ประเภทของประเพณีนั้นมี 4 ประเภท ได้แก่
- ประเพณีปรัมปรา หมายถึง ประเพณีที่เก่าก่อน ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สืบ
ๆ กันมา เก่าก่อน มีมานาน เช่น นิยายปรัมปราต่าง ๆ อาทิ
โรบินฮูดแห่งป่าเชอร์วูดที่ช่วยคนจน ของฝรั่ง
- จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม (Mores) หมายถึง ประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วยจึงเป็นกฎที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคมสังคมบังคับให้ปฏิบัติตาม เป็นเรื่องความผิดความถูก ความนิยมที่ยึดถือและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เช่น การเล่นชู้ ถือว่าประพฤติชั่วไม่เหมาะสม ผิดศีลธรรม เป็นต้น
- ขนบประเพณี (Institution) หมายถึง ระเบียบ แบบแผน ที่สังคมตั้งขึ้น
กำหนดไว้ให้ปฏิบัติร่วมกันทั้งทางตรง และทางอ้อม ทางตรง ได้แก่
ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร
เข่น การไหว้ครู การศึกษาเล่าเรียน ศาสนา เป็นต้น โดยอ้อม
ก็คือประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติได้
เพราะมีการบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือจากการที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลอื่นปฏิบัติ เช่น
แห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
- ธรรมเนียมประเพณี (Convention) หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ๆ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบธรรมเนียมประเพณี หรือมีความผิดความถูกเหมือนจารีตประเพณี ดังนั้นธรรมเนียมประเพณีไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดหรือมีโทษ เป็นแต่เพียงคนส่วนใหญ่ปฏิบัติกัน และเราก็ปฏิบัติตาม แต่อาจจะไม่เหมือนกับอีกหลายสังคมเป็นเพียงธรรมเนียมของสังคมนั้น ๆ ปฏิบัติกัน เช่น ไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร ฝรั่งใช้มีดกับส้อม เป็นต้น
ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดถึงตายทีเดียว เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คู่กับชาติไทยมาแต่ยาวนานจึงทำให้เกิดประเพณีหลาย ๆ ประการในสังคมที่มีพิธีกรรมทางพุทธศาสนามาเกี่ยวข้องด้วย