ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ในสมัย 2000–3000 ปีมาแล้ว ประเทศซีกโลกตะวันออกมีเพียง 2 ประเทศที่มีอารยธรรมมานานกว่าประเทศอื่นๆ นั่นคือ อินเดียกับจีน แม้จีนได้เริ่มอารยธรรมในยุคเดียวกับอินเดียก็ตาม มรดกทางวัฒนธรมของจีนก็มีเพียงเล็กน้อยที่ส่งทอดให้แก่ทางย่านเอเซียด้วยกัน ผิดกับอินเดียซึ่งได้ถ่ายทอดและวัฒนธรรมของตนให้แก่เอเซียและแก่โลกได้มากกว่า (พุทธศาสนาเข้าสู่จีนสมัยพระเจ้าเม่งตีหรือเม่งเต้ พ.ศ. 605 บางท่านว่าสมัยพระเจ้าอโศกเคยมีพระเดินทางไปจีน แต่ถูกพระเจ้าจักรพรรดิจับหาว่าเป็นจารชน)

วัฒนธรรมอินเดียได้กระจายสู่ทางตะวันออก (เอเซียอาคเนย์) หลัดฐานส่วนมากได้มาจากคัมภีร์ชาดกของพระพุทธศาสนา และนิทานพื้นบ้านบ้าง พงศาวดารจีนบ้าง ในชาดกเล่าถึงการเดินเรือจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิและหมู่เกาะต่างๆ แถบนี้มากมาย ในที่นี้จะไม่ขอย้อนอดีตท้าวความ ขอสรุปสาเหตุที่ชาวอินเดียเดินทางสู่ประเทศต่างๆ ในครั้งโบราณดังนี้คือ

1. การถูกบีบคั้นทางศาสนา
2. การไปเผยแผ่ศาสนา
3. ไปเพื่อการค้า
4. การไปเสี่ยงโชคด้านการเมืองหรืออาชีพ

 

ประการแรก คนอินเดียหลายเผ่าหลายลัทธิ โดยเฉพาะพวกอินเดียใต้มักถูกรังแกจากอินเดียเหนือ คือพวกอารยัน จึงไม่สะดวกในการประกอบพิธีกรรมที่ตัวเองยึดถือ ส่วนพุทธศาสนานั้น ไม่เคยปรากฎว่าใครถูกบีบบังคับหรือรังแกในด้านนี้

ประการที่สอง พระพุทธศาสนานิยมการเผย เพื่อให้คนเข้าใจและปฏิบัติธรรมโดยไม่เลือกชาติชั้น นโยบายพุทธศาสนาไม่รังเกียจการไปตั้งหลักแหล่งต่างถิ่น ซึ่งพวกพราหมณ์ไม่สนับสนุนในเรื่องนี้ แต่ก็ทำตามอย่างพุทธศาสนา

ประการที่สาม ด้วยการติดต่อค้าขายอยู่ตลอดเวลา จึงมีการกระจายวัฒนธรรมอินเดียและส่วนมากก็อาศัยสาเหตุนี้ ในเรื่องนี้ได้พบหลักฐานประมาณพุทธศตวรรษที่ 9–10 โดยหลักฐานที่พบคือ ซากโบสถ์ฮินดูและเทวรูปทั้งหลายที่บริเวณสุไหงบาตู เชิงเขาเคดาร์ (ไทรบุรี) และซากพุทธสถูปสร้างด้วยอิฐใกล้ๆ กับเคดาร์ พบจารึกโบสถ์พุทธศาสนาในบริเวณแหลมมลายู ซากสถูปและพระพุทธรูปที่ตะกั่วป่า และบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไชยา เวียงสระ หลักฐานเหล่านี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าชาวฮินดูเข้ามาตั้งรกรากอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9–10 ซึ่งจารึกที่พบเป็นภาษาสันสกฤต และมาแน่ใจอีกครั้งเมื่อพบหลักฐานในยุคหลัง คือประมาณ 801–900 นี้เอง เป็นต้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย