ศาสนา
ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินครองราชสมบัติอยู่เพียง 15 ปี ทรงพระนามเดิมว่า
พระยาวชิรปราการ(พ.ศ. 23102325) เป็นสมัยที่บ้านเมืองเริ่มตั้งตัว
และระยะการกอบกู้ชาติ พระมหากษัตริย์พระองค์ใด พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่า
พุทธศาสนาเสื่อมลงจนถึงกับพระสงฆ์แท้ๆ ตั้งเป็นก๊กด้วย และยกตนขึ้นเป็นเจ้าทั้งๆ
ที่เป็นพระ ครองผ้ากาสาวพัสต์แต่เสพสุราฆ่าคน ทำอนาจารนานาประการ
คือชุมนุมพระเจ้าฝาง ซึ่งเป็นก๊กที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น มีก๊กต่าง ๆ ทั้งหมด 4 ก๊ก
คือ
1.ก๊กเจ้าพระฝาง
2. ก๊กเจ้าพิมาย
3. ก๊กเจ้านครศรีธรรมราช
4. ก๊กพระเจ้าตาก
ส่วนพระเจ้าตากสินนั้นตั้งก๊กเป็นชุมนุมพระเจ้าตาก พระองค์ทรงปราบก๊กต่างๆ
ได้ชัยชนะ ทรงใช้เวลาอยู่ 3 ปี จึงปราบได้สำเร็จ บ้านเมืองจึงมีความสงบสุข
และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ มีราชธานีอยู่ที่ธนบุรี ทรงสนพระทัยพระศาสนามาก
พระราชกรณีกิจของพระองค์พอสรุปได้ดังนี้
1. จัดสังฆมณฑล (พ.ศ. 2311)
ช่วงนี้พระสงฆ์แตกแยกและบกพร่องในด้านธรรมวินัย ไม่มีพระเถระที่คุณวุฒิ
จึงทรงให้มีการประชุมสงฆ์เท่าที่มีในขณะนั้น ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม)
เลือกพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ แต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ
ฐานานุกรมใหญ่น้อยตามลำดับ ต่ำแหน่งสังฆราชดังนี้ คือ
-องค์ที่ 1 พระอาจารย์ดี ชาวจังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นพระภิกษุธรรมดาทั่วไป
-องค์ที่ 2 พระอาจารย์ศรี ชาวจังหวัดอยุธยา วัดพนัญเชิง
-องค์ที่ 3
พระครูสุธรรม ภายหลังได้สมณศักดิ์เป็น พระครูสุธรรมธีรราชมหามุนี
มีพระชนย์มายุอยู่ถึง 2 รัชกาล คือสมัยพระเจ้าตากสิน-รัชกาลที่ 1
ต่อมาภายหลังรัชกาลที่ 1 ไม่ทรงชอบจึงถูกถอดยศ
2. ทรงบูรณะพระอารามต่างๆ มากกว่า 200 หลัง
ส่วนมากทรงบูรณะวัดแทบนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมาก
ทรงขอให้พระสงฆ์ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย อย่าให้ศาสนามัวหมอง ดังมีพระดำรัสว่า..
ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมรศีลคุณบริบูรณ์ในพระพุทธศาสนาแล้ว
แม้นจะปรารถนามังสะ รุธิระ (เลือด) ของโยม โยมก็อาจจะเชือดเนื้อแลโลหิต
ออกมาบำเพ็ญทานได้
3. บำรุงการเล่าเรียนพระไตรปิฎก โปรดให้สังฆการีธรรมการ ทำบัญชี
พระสงฆ์องค์ได้บอกเรียนพระไตรปิฎกได้มาก
ก็ทรงถวายไตรจีวรเนื้อละเอียดพร้อมถวายจตุปัจจัย และโปรดให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
ที่เป็นสมุดภาพไตรภูมิ
4. บำรุงศาสนา ที่เมืองนครศรีธรรมราช นอกจากบูรณะแล้ว
ยังสนับสนุนโดยถวายจีวรและปัจจัย รูปละ 1 บาท และยังถวายโดยมอบปัจจัยให้แก่คนยากจน
1 สลึงในวันอุโบสถ
5. รวบรวมพระไตรปิฎก การเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310
บ้านเมืองถูกเผาเป็นจำนวนมาก คัมภีร์พระไตรปิฎกสูญหายมาก
ทรงโปรดให้สืบหาคัมภีร์ต้นฉบับตามหัวเมืองต่างๆ
นำมาคัดลอกเพื่อสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น แต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
นอกจากนี้โปรดนิมนต์พระเทพกวีให้ไปเขมร และพระพรหมมุนีไปนครศรีธรรมราช
เพื่อรวบรวมคัมภีร์วิสุทธิมรรคเอามาคัดลอกไว้ด้วย
5. ชำระพระอลัชชี
เวลานั้นพระอลัชชีมีอยู่เป็นจำนวนมากที่เป็นพวกก๊กพระเจ้าฝาง
และตั้งตนเป็นหัวหน้ากองทัพต่างๆ ที่เป็นพระ
จึงประกาศให้บรรดาพระสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือมาสารภาพผิด แล้วให้สึกรับราชการ
ถ้าไม่ยอมรับจะต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ คือให้ดำน้ำต่อหน้าพระที่นั่ง 3 กลั่นใจ
ผู้ใดทนได้โปรดให้ดำรงอยู่ในฐานานุศักดิ์
ผู้ใดแพ้ให้โปรดสึกออกมาสักข้อมือใช้ในราชการจงหนัก
ถ้าผู้ใดกล่าวเท็จว่าตนบริสุทธิ์ แต่พอดำน้ำพิสูจน์กลับมาสารภาพว่าตนเป็นปาราชิก
ก็โปรดให้เอาตัวไปประหารชีวิต ในคราวนั้นพระองค์รวบรวมไทยเป็นปึกแผ่นได้ภายในเวลา 3
ปีเท่านั้น สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้รับสั่งสนทนาปัญหาธรรมกับพระเถระอยู่เป็นประจำ
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียวที่ทรงปฏิบัติวิปัสสนาเป็นพิเศษ
ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือทางพุทธศาสนาไว้เรื่องหนึ่งชื่อ ลักษณะบุญ
เป็นหนังสือที่ว่าด้วยวิธีทำกรรมฐาน