ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

ขงจื้อ

ผลงานของขงจื้อ
ลัทธิขงจื้อ
การสืบทอดขนบขงจื้อ
ปรัชญาขงจื้อ

ผลงานของขงจื้อ

     งานทางด้านการเขียนของขงจื้อปรากฏอยู่ในหนังสือ สังเขปการสอนของขงจื้อ หรือที่จีนเรียกว่า “ลันยู” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกและเรื่องราวต่าง ๆ เช่น คำพูด คำสอนของขงจื้อและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกศิษย์ของท่านได้ช่วยกันรวบรวมขึ้นหลังจากการจากไปของขงจื้อส่วนวรรณกรรมที่ท่านได้รวบรวมขึ้นมีดังนี้

1. ฉวนฉิว

เป็นบันทึกเหตุการณ์ระหว่างฤดูใบไม้ผลิและใบไม่ร่วง เป็นคุณลักษณะของขงจื้อและเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการทางการเมืองของแคว้นลู้จากปี 723-481 ก่อนคริสตกาล และข้อสังเกตที่เกี่ยวกับพิธีกรรมได้รับการปฏิบัติ อุปนิสัยของข้าราชการและความเสียสละที่แสดงออกและท่าทางทัศนคติที่แสดงออกในความสัมพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังได้แจกแจงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมาย นับตั้งแต่การเจรจาตกลงทางการทูต จนถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น อุปราคา เป็นต้น

2. ชิจิ

เป็นหนังสือเกี่ยวกับบทกวีนิพนธ์ต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับ Song of Solomon ในคัมภีร์ใบเบิ้ล โคลงต่าง ๆ เป็นเพลงพื้นเมืองที่ร้อนกันในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไปแล้วเป็นบทพรรณนาถึงหนุ่ม ๆ สาว ที่กำลังร้องรำทำเพลงและเล่นหยอกล้อกันด้วยความเสน่หาในฤดูใบไม้ผลิและในฤดูเก็บเกี่ยว

3. ฉูชิง

เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ารวมโดยขงจื้อเอง ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างลึงซึ้ง เป็นการประมวลคำปราศรัย คำสัตย์ปฏิญาณในพิธีกรรม

4. อิชิง

เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเป็นตำนานลึกลับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อำนาจ ศักดิ์สิทธิ์และพลังแห่งจุดหมายปลายทาง เป็นงานชิ้นแรกซึ่งได้รับความนิยมและจัดเข้าเป็นขั้นคลาสิคในสมัยต่อ ๆ มา ลักษณะเด่นตำราเล่มนี้คือ ปากัวหรือรอยสลักแปดตัวซึ่งโหรจีนให้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ และเอ้อหยา ซึ่เงป็นปทานุกรมฉบับแรกที่พยายามอธิบายความมืดมนของตำราว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงและตำราว่าด้วยพิธีกรรม

5. ลิจี่

เป็นหนังสือเกี่ยวกับพิธีการต่าง ๆ เป็นการสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น วิธีที่ควรจะถือและเหนี่ยวคันศรในระหว่างที่แสดงศิลปะของสุภาพบุรุษในการยิง นอกจากนั้นก็กล่าวถึงการเรียกอันยิ่งใหญ่และทฤษฎีแห่งมัชฌิม

      เมื่อพวกมองโกลเข้ายึดจีนได้คือในราว ค.ศ. 1278-1368 จักรพรรดิกุบไล่ข่านก็มิได้ขัดขวางลักธินี้ ทรงยึดหลักของขงจื้อ ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหม็งได้พยายามล้มล้างอิทธิพลของพวกมองโกล และรื้อฟื้นการตั้งยศฐาบรรดาศักดิ์ตลอดจนมีพิธีการบูชาขงจื้อและเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาตำราขงจื้อเป็นอย่างมาก

สมัยราชวงศ์เหม็งได้รื้อฟื้นการสอบแบบขงจื้อคือเปิดให้มีการสอบชั้นสูงถึง 89 ครั้ง มีผู้สอบผ่านการสอบชั้นสูงเพียง 280 คน มีการยกส่วนต่าง ๆ ของตำราขงจื้อมาเขียนตีความและวิจารณ์ โดยยึดแบบของชูชีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้องเป็นหลัก

ลักธิขงจื้อนี้มีชื่อเสียงมาก และเผยแพร่เข้าไปในหมู่พวกแมนจูโดยพวกแมนจูใช้หลักของขงจื้อในการปกครองจีน จะเห็นได้ว่าไม่ว่าพวกมองโกลหรือแมนจูก็ตามที่มีอำนาจยึดครองจีนได้ ต่างก็ตระหนักดีว่า การที่จะปกครองจีนได้จะต้องธำรงไว้ซึ่งอารายธรรมตลอดจนลักธิขงจื้อที่ชาวจีนยึดถือปฏิบัติกัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย