ศาสนา
ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
ขงจื้อ
ผลงานของขงจื้อ
ลัทธิขงจื้อ
การสืบทอดขนบขงจื้อ
ปรัชญาขงจื้อ
ปรัชญาขงจื้อ
- ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
- บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้
- คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ขอตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่องที่ขอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
- ผู้มีคุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
- จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
- บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น
- คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอยู่เวลา
- ยังปรนนิบัติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
- ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
- ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้องตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
- เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขา จะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
- ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
- ตำหนิตนเองให้มาก ตำหนิผู้อื่นให้น้อย ก็จะไม่มีใครโกรธแค้น
- บัณฑิตขอร้องกับตนเอง ส่วนคนพาลนั้นจะขอร้องกับคนผู้อื่น
- บัณฑิตมีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยไม่แย่งชิงความภาคภูมิใจของคนอื่น บัณฑิตมีความสามัคคี แต่ไม่เล่นพวกกัน
- พูดไพเราะตลบแตลง ทำให้สูญเสียคุณธรรม
- เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย
- ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา
- เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง 3 ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา
- เพื่อนที่ประจบสอพลอ เพื่อนที่ทำอ่อนน้อมเอาใจ เพื่อนที่ชอบเถียงโดยไม่มีความรู้ ทั้ง 3 ประการนี้เป็นภัยแก่เรา
- บัณฑิตมีความกลัวอยู่ 3 ประการ กลัวประกาศิตของสวรรค์ กลัวผู้มีอำนาจ กลัวคำพูดของอริยบุคคล
- อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์
- ทบทวนเรื่องเก่า และรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้
- นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา
- ชอบเอาสองคนมาเทียบกันว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น
- ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ
- ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตาชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน
- เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน
- สิ่งที่แข็งที่สุด เอาชนะได้ด้วยสิ่งที่อ่อนที่สุด
- เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก้อเปิดแต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิดจนไม่ทันเห็นว่ามีอีกบานที่เปิดอยู่
- อย่ามัวค้นหาความผิดพลาด จงมองหาหนทางแก้ไข
- อารมณ์ขันเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุดที่ช่วยรักษาสิ่งอื่นได้ เพราะทันทีที่เกิดอารมณ์ขันความรำคาญและความขุ่นข้องหมองใจจะมลายไปกลับกลายเป็นความเบิกบานแจ่มใสของจิตใจเข้ามาแทนที่
- อย่ากลัวที่จะนั่งหยุดพักเพื่อคิด
- 1 นาทีที่คุณโกรธเท่ากับคุณได้สูญเสีย 60 วินาทีแห่งความสงบในจิตใจไปแล้ว
- หนทางเดียวที่จะรักษาภาพพจน์ได้คือการซื่อสัตย์ตลอดเวลา
- ผู้ชนะไม่เคยลาออก และผู้ลาออกก็ไม่เคยชนะ
- ออกซิเจนสำคัญต่อปอดเช่นไร ความหวังก็เป็นเช่นนั้นต่อความหมายของชีวิต
- การมีชีวิตอยู่นานเท่าใดมิใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือ มีชีวิตอยู่อย่างไร
- เราเข้าใจชีวิตเมื่อมองย้อนหลังเท่านั้น แต่เราต้องดำเนินชีวิตไปข้างหน้า
- เราไม่อาจล้างมือที่แปดเปื้อนซ้ำได้เป็นครั้งที่ 2 ในสายน้ำไหล(สุภาษิต ทิเบต)
- ไม่มีสิ่งใดช่วยให้คุณได้เปรียบคนอื่นมากเท่ากับการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลาในทุกสถานการณ์
- ความอดทนคือเพื่อนสนิทของสติปัญญา
- พรสวรรค์ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือ การที่เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้
- ในธรรมชาติไม่มีสิ่งใดดีพร้อม แต่ทุกอย่างก็สมบูรณ์แบบในตัวเอง ต้นไม้อาจบิดเบี้ยวโค้งงออย่างประหลาด แต่ก็ยังคงความงดงาม
- มักพูดกันว่ากาลเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริงๆแล้ว คุณต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตนเอง
ลัทธิขงจื้อเป็นลักธิที่มีทั้งปรัชญาทางการเมือง
มีทั้งการดำลงชีวิตตลอดจนการอยู่ร่วมกันและอื่น ๆ อีก
ซึ่งสอนให้ผู้ศึกษาได้ทำความเข้าใจกับสังคม
ทำความเข้าใจกับโลกด้วยการศึกษาและความรู้จักกับตัวเองให้มีคุณค่า
เมื่อคนในสังคมแต่ละคนได้ปรับปรุงตนเองโดยสมบูรณ์แล้วก็จะได้ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขสังคม
แก้ข้อบกพร่องของสังคม และพยายามปรับตัวและปรับสังคมให้เข้ากันได้
เมื่อนั้นแหละสังคมก็จะมีแต่ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซึ่งจะเป็นผลทำให้โลกนี้มีแต่ความสงบและสัติสุขดังเช่นที่มนุษย์เราปรารถนา
ถ้าสังคมวุ่นวาย
คนในสังคมก็จะไม่มีอะไรเป็นหลักที่จะยึดเหนี่ยวได้ดีไปกว่าลักธิและความเชื่อถือหรือความความมีศรัทธาในศาสนา
ดังเช่นประเทศจีนที่มีลัทธิขงจื้อเป็นหลักในการบริหารประเทศ
ชาวจีนส่วนใหญ่ยึดมั่นในลัทธินี้และก็ได้ถือปฏบัติต่อ ๆ
กันมาเป็นเวลานานไม่ว่าบ้านเมืองจะมีความสงบสุขหรือมีความระส่ำระสาย
จนอาจจะกล่าวได้ว่า
ประเทศจีนสามารถดำลงอยู่มาจนถึงปัจจุบันได้ก็เพราะประชาชนมีความศรัทธาในตัวผู้ปกครองประเทศ
และตัวผู้ปกครองประเทศก็ให้ความสนับสนุนลัทธิขงจื้อนี้ด้วยบรรณานุกรม
- เขียน ธีระวิทย์, ดร., วิวัฒนาการการปกครองของจีน, กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช, 2517
- คณิน บุญสุวรรณ, จีนสามยุค., กรุงเทพ : กรุงสยาม, 2519
- พิทักษ์ อยู่ดี, ประเพณีขงจื้อ วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 2 เล่มที่ 3 (เมษายน มิถุนายน), 2515
- เพ็ชรี สุมิตร, อารยธรรมตะวันออก เล่ม 2 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2515
- ไพโรจน์ โพธิ์ไทร, ภูมิหลังของจีน. กรุงเทพฯ : บรรณากิจเทรดดิ้ง, 2517