ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
การพัฒนาความเป็นมนุษย์ ด้วยประสาทสุนทรียศาสตร์และ DICECS Cycle
นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร
4ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นดังนี้
สังคมในอดีตไม่ซับซ้อน การจะมองว่าอะไรถูกผิด ไม่น่าจะยาก
แม้จะสอนด้วยวิธีบอกให้รู้ว่าอะไรถูกผิดก็ตาม
ด้วยความไม่ซับซ้อนของสังคมจึงไม่ยากที่ผู้เรียนจะจดจำและนำเอาความรู้ที่ได้รับการสอนสั่งไปประยุกติ์
แต่สำหรับปัจจุบันหรือในอนาคต
สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นวิธีการแบบที่เคยใช้จึงไม่เพียงพอ
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าการสอนคุณธรรมแบบชี้ถูกชี้ผิด
หรือโดยการให้ใช้ปัญญาวิเคราะห์ว่าอะไรถูกผิดไม่น่าจะได้ผล นั่นก็คือ
การค้นพบเซลล์กระจกเงา ของนักวิทยาศาสตร์อิตาลี
เซลล์กระจกเงา คือเซลล์ชนิดหนึ่งในสมองของคน ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ
2536 การทำงานของเซลล์ชนิดนี้ทำให้เรา ซึมซับแบบอย่าง หรือ Imitate สิ่งต่างๆ
จาก บุคคลต้นแบบ ที่ เราเห็น การซึมซับแบบอย่าง
จะมีความหมายมากกว่าการเลียนแบบธรรมดา เพราะการซึมซับแบบอย่าง หรือ Imitation นี้
ผู้เลียนแบบ จะเลียนแบบทั้ง กริยาท่าทาง ฐานคิด วิธีคิดและ ทัศนคติของ
บุคคลต้นแบบ ไปด้วย
การศึกษาหน้าที่ของเซลล์กระจกเงา ทำให้เรารู้ว่า ภาษาของมนุษย์ กริยาท่าทาง
ทักษะทางสังคม ทักษะในการทำมาหากิน การถ่ายทอดขนบประเพณี ค่านิยม คุณธรรม
รวมทั้งความเชื่อและทัศนคติของกลุ่ม ล้วนถ่ายทอดผ่านกระบวนการ ซึมซับแบบอย่าง
หรือ Imitation ทั้งสิ้น และเป็นผลมาจากการทำงานของเซลล์กระจกเงานี่เอง
คนที่เซลล์กระจกเงาบกพร่องหรือทำงานไม่สมบูรณ์
ทักษะดังที่กล่าวมาทั้งหมดก็จะบกพร่องไปด้วย (โรคออติสซึม
ก็เกิดจากความบกพร่องของเซลล์กระจกเงา)
คำโบราณของไทยที่กล่าวว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
จึงเป็นคำอธิบายการทำงานของเซลล์กระจกเงาที่กระชับและชัดเจนที่สุด
ในอดีตแม้เราจะสอนคุณธรรมกันด้วยการสอนให้รู้ถูกรู้ผิด
ซึ่งอาจจะได้ผลไม่เต็มที่ก็ตาม แต่เราก็มี บุคคลต้นแบบ ที่เด่นชัดให้เด็กๆ ได้
ซึมซับแบบอย่าง หรือ Imitate อยู่เสมอ และต้นแบบที่ไม่ดีก็มีไม่มากนัก
ตรงกันข้ามกับในปัจจุบัน ต้นแบบมีมากเหลือเกินโดยเฉพาะต้นแบบที่ไม่ดี
และต้นแบบเหล่านี้ก็สามารถเข้าถึงเด็กที่ยังอยู่ในวัยที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้อย่างเต็มที่
โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่นโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต หรือ โซเชียลมีเดีย
การ ซึมซับแบบอย่าง ที่ไม่ดีจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าแต่ก่อน ดังนั้น
การสอนคุณธรรมโดยวิธีการสอนให้รู้ถูกผิดเพียงอย่างเดียวภายใต้บริบทของสังคมปัจจุบัน
จึงไม่สามารถก่อให้เกิดผลตามที่เราต้องการได้