เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ระบบดาวเทียม GPS

        ด้วยราคาย่อมเยา และประสิทธิภาพของอุปกรณ์จีพีเอส ไม่น่าแปลกใจหากมัน จะกลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก และในบางกรณีเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิต เป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคไม่ว่าคุณจะเป็นนักนิยมธรรมชาติ ท่องเที่ยวในป่าเขาลำเนาไพร นักดาราศาสตร์ทั้งมือเก๋าหรือสมัครเล่นตั้งแกนกล้องดูดาว ชาวประมงหรือนักเดินเรือเดินทางกลางทะเล ไม่ว่าคุณ จะอยู่ที่ไหนในโลก ระบบจีพีเอสที่คุณใช้มีเพียงหนึ่งเดียว เป็นของขวัญก้อนโตที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงกลาโหมซึ่งทั่วโลกรู้จักกันในนาม เพนตากอน (Pentagon) เพราะว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ ออกแบบระบบ, สร้างดาวเทียม, ยิงจรวดขนดาวเทียมขึ้นไปบนอวกาศ, ดูแลบำรุงรักษา, ปรับปรุง, เปลี่ยนแปลง, พัฒนา โดยขณะที่ยอมเปิดให้ทั่วโลกมาร่วมใช้ได้อย่างเสรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จึงนับได้ว่าระบบ จีพีเอสกลายเป็นปัจจัยที่หกของนักเดินทางไปเสียแล้ว



GPS หรือ Global Positioning System ชื่อภาษาไทยบัญญัติโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 ไว้ว่า "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก" ชื่อเต็มของระบบนี้คือ NAVSTAR Global Positioning System คำว่า NAVSTAR เป็นอักษรย่อมาจาก Navigation Satellite Timing and Ranging ภาคของคำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่อง คือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก จากกลุ่มดาวเทียม 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับสูงที่พ้นจากคลื่นวิทยุรบกวนของโลกและวิธีการที่สามารถให้ความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้ชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง จากการนำมา ใช้งานจริงจะให้ความถูกต้องสูง โดยที่ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของตำแหน่งทางราบต่ำกว่า 50 เมตร และถ้าเป็นแบบวิธี "อนุพันธ์" (Differential) จะให้ความถูกต้องถึงระดับเซนติเมตรจากการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิตเครื่องรับ GPS ที่มีขนาดลดลง และมีราคาถูกลงกว่าเครื่องรับระบบ TRANSIT เดิมเป็นอันมาก

ประวัติและพัฒนาการของดาวเทียม GPS
องค์ประกอบของระบบดาวเทียม GPS
ส่วนประกอบของเครื่องรับสัญญาญาณดาวเทียม GPS
ข้อดี-ข้อเสียของระบบ GPS

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย