สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
» วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
» ตัวอย่างพฤติกรรมที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
» ความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ
» วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์
» ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
» การใช้อินเตอร์เน็ต ที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน
ซึ่งมีลักษณะการได้มาดังนี้
- คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น
- กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน
ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา
ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
- กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว
ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ
- กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล
ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้สร้างสรรค์งานขึ้นใหม่ ซึ่งอาจเป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองเพียงผู้เดียว
หรือผู้สร้างสรรค์งานร่วมกัน
- ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
- ผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวม โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
- ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่จ้าง
เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
- กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น
- ผู้รับโอนสิทธิ
- ผู้พิมพ์โฆษณางานที่ใช้นามแฝงหรือนามปากกาที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์
สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
- เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ
ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า
คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตน
โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได
-
นอกจากสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว
กฎหมายยังคุ้มครองสิทธิที่เรียกว่า ธรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิในทางศีลธรรมด้วย
โดยกำหนดว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะแสดงตนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และห้ามผู้อื่นมิให้กระทำการบิดเบือน
ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทำการให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์