ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
ประเภทของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)
ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)
ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)
ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)
ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)
ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)
ระบบแบบกระจาย (Distributer System)
โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
เน็ตเวิร์ค (Networking)
ประเภทของคอมพิวเตอร์
Main Frame
ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด
โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นเซฟเวอร์ที่ต้องมีการประมวลผลกิจกรรมอะไรที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำให้มากที่สุด
มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
Mini Computer or LAN
คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง
เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก
ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
Personnel Computer
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องไคลเอ็นต์ เพื่อดึงข้อมูลจากเครื่องเซฟเวอร์
หรืออาจจะใช้ในลักษณะของการทำงานแชร์ทรัพยากรกันภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งสามกลุ่มนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่าย
ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของข้อมูลและจุดสิ้นสุดของกานเดินทางของข้อมูลด้วยเล่นกัน
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ซึงจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่เราจะสามารถวางระบบหรือติดตั้งระบบเน็ตเวิร์คให้ได้มีประสิทธิภาพนั้น
ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่ทั้งหมด
หรือติดตั้งเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบเดิม ผู้ที่จะทำการติดตั้ง
จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านองค์ประกอบต่างๆของระบบเครือข่ายพอสมควรเพราะการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในระบบนั้นๆ
อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องเลือกให้เกิดความเหมาะสมต่อองค์กรและผู้ใช้ด้วย
องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง
และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากความหมายข้างต้นนี้เราสามารถแบ่งองค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
2. สื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
3. วิธีการหรือมาตรฐานในการสื่อข้อมูลหรือทรัพยากร
1. คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ในเรื่องของการให้บริการและการใช้บริการข้อมูลในระบบเครือข่าย
ซึ่งเครื่องที่จะทำหน้าที่ในการใช้บริการข้อมูลเราจะเรียกว่าเครื่องไคลเอ็นต์
ส่วนเครื่องที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ จะเรียกว่า เซฟเวอร์
โดยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซฟเวอร์จะเป็นเครื่องที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการทำงานสูง
โดยเครื่องเซฟเวอร์จะถูกเรียกตามบริการที่เปิดให้ไคลเอ็นต์เข้ามาใช้บริการข้อมูล
อย่างเช่น File Server คือเครื่องที่ให้บริการในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล
การให้ดาร์วโหลดข้อมูล Print Server
คือเครื่องที่ให้บริการด้านการปริ๊นงานหรือเอกสารต่างๆ Web Server
เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านเว็บเพ็จหรือโฮมเพ็จขององค์การหรือบุคคลากร
เป็นต้น
2. สื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
แบ่งออกเป็นสองแบบคือ สื่อแบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง
เป็นต้น อย่างที่สองคือสื่อแบบไร้สาย ซึ่งจะเป็นสัญญานความถี่แบบคลื่นวิทยุ
ตัวอย่างเล่นสัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณดาวเทียม
ซึ่งสื่อทั่งสองชนิดจะต้องมีตัวรับหรือตัวแปลงสัญญาณซึ่งทำหน้าที่ในการการจายและแปลงสัญญาณให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและรับรู้ถึงข้อมูลได้
แล้วแต่ชนิดและลักษณะการทำงานของแต่ละอุปกรณ์
3. วิธีการหรือมาตรฐานในการสื่อข้อมูลหรือทรัพยากร
มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ
มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model)
ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI
นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6. มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
7.
มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น
รูปมาตรฐาน OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน
- ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร
มีหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ
จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้
- ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ
คอยควบคุมความผิดำพลาดในข้อมูลโด่ยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ
ชั้น Data Link
นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ
- ชั้น Network
มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยะทางที่สั้นที่สุด
- ชั้น Transport
มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันข้อมูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ
- ชั้น Session
มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
โดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง
- ชั้น Presentation มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ
และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน
เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ
- ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ