ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
» อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
» อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
» การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)
» ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)
» ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
» ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)
» ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)
» ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)
» ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)
» ระบบแบบกระจาย (Distributer System)
ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)
เมื่อฮาร์ดแวร์ราคาถูกลงทำให้มีการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานคนเดียว ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี ดีไวซ์สำหรับรับและแสดงผลเปลี่ยนไปเป็นแบบกดปุ่ม สับสวิตซ์ เครื่องอ่านการ์ดเปลี่ยนเป็นลักษณะคล้ายพิมพ์ดีดที่เรียกว่า คีย์บอร์ด รวมทั้งมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่เรียกว่า เมาส์ เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ และการ์ดเจาะรูเปลี่ยนเป็นมอนิเตอร์และเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้เริ่มปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1970 ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ CP/M พัฒนาต่อมาเป็น DOS
ระบบเวอร์ชวลแมชีน (Virtual Machine)
ระบบนี้จะช่วยให้คิดว่าผู้ใช้กำลังใช้งานกับคอมพิวเตอร์หลายเครื่องทั้ง ๆ
ที่ทำงานบน เครื่องเดียว
โปรแกรมเช่นนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้หลายคนทำงานกับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
เนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เทอร์มินอลของตนเองทำให้คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของเครื่องโดยลำพัง
ระบบเมนเฟรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเวอร์ชวลแมซีน
เมื่อมีการใช้เทคนิคการจัดเวลาของซีพียูและความจำเสมือนทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลาย
โปรเซสพร้อม ๆ กัน โดยแต่ละโปรเซสสามารถเอ็กซิคิวต์ได้ด้วยโปรเซสเซอร์และหน่วย
ความจำ (เสมือน) ของตัวเอง แต่โปรเซสจะต้องเพิ่มเติมฟีเจอร์สำหรับจัดการ เช่น
system call หรือระบบไฟล์ที่ระบบฮาร์แวร์ดั้งเดิมไม่มี จริง ๆ
แล้วเวอร์ชวลแมซีนไม่ได้เพิ่มเติมฟังก์ชัน แต่จะกำหนดรูปแบบเฉพาะให้กับฮาร์ดแวร์
โดยสร้างเวอร์ชวลแมซีนขั้นกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับ kernel
ที่ติดต่อกับโปรเซสจะมีการแชร์รีซอร์สของคอมพิวเตอร์ทางกายภาพเพื่อร่วมกันสร้างเป็นเวอร์ววลแมซีน
การจัดเวลาของซีพียู และสร้างสิ่งที่ให้ผู้ใช้คิดว่าผู้ใช้เป็นเจ้าของโปรเซลเซอร์
ระบบสพูลลิ่งและระบบไฟล์ทำให้สามารถใช้เครื่องการ์ดแบบเวอร์ชวล
และเครื่องพิมพ์แบบเวอร์ชวล
และสำหรับเทอร์มินัลที่ใช้ระบบแบ่งเวลาก็จะสนับสนุนฟังก์ชันสำหรับเทอร์มินอลแบบเวอร์ชวล
เช่นกัน