สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
กลไกของรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
การปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร
การปฏิรูปวุฒิสภา
การปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปฏิรูประบบราชการ
ศาลปกครอง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกิน 3 คน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่พิจารณา
และสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนและจัดทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 10
คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งการตรวจสอบและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การเสนอแนะนโยบาย และการปรับปรุงกฎหมาย การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย
การส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ จัดทำรายงานประจำปี
เพื่อเสนอต่อรัฐสภา
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 9
คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่างๆ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการคนหนึ่ง
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาโดยมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ 4
ประการ คือ
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวน
พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อวุฒิสภาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
และบุคคลอื่นที่มาตรา 303 บัญญัติไว้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ส่อว่ากระผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย
เพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่ง
- ไต่สวนข้อเท็จจริง
และสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ
กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา
หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
- ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ
กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไป
ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้