สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ
ลักษณะที่ดีของรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
กฎหมายและความเป็นมาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
กฎหมายกับการรักษากฎหมาย (Law and Enforcement)
กฎหมายกับการรักษากฎหมาย (Law and Enforcement)
กฎหมายในรัฐจะดี จะยุติธรรม มีเหตุผล หรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นปัญหาของค่านิยม (Value Judgement)
หรือปัญหาของการตีความ (Problem of Interpretation)
เพราะฉะนั้นเราจึงควรจะพิจารณากฎหมายในอีกแง่หนึ่ง การรักษากฎหมาย
ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายจริงจึงสำคัญเท่าๆ กับการที่รัฐต้องมีกฎหมายที่ดี
เพราะหากมีกฎหมายที่ดีแล้วไม่มีการบังคับใช้จริง ก็ไม่มีประโยชน์
ไม่ทำให้เกิดรัฐที่ดี ขณะเดียวกันหากมีการบังคับใช้กฎหมายจริงแต่กฎหมายไม่มีเหตุผล
ก็ไม่ก่อให้เกิดรัฐที่ดีเช่นกัน
การที่กฎหมายจะบังคับใช้ได้จริงยังขึ้นอยู่กับประชาชนในรัฐนั้นๆ ด้วย
เราพอจะแยกประเภทของการละเมิดกฎหมายออกเป็น 2 ประการ คือ
1. ละเมิดเพราะไม่รู้
2. ละเมิดเพื่อผลประโยชน์
1. ละเมิดเพราะไม่รู้
ข้อนี้ตามหลักกฎหมายแล้วฟังไม่ขึ้น เพราะคนทุกคนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
แต่ตามหลักความจริงแล้วมีอยู่มาก
ในข้อนี้เองที่การศึกษาจะต้องเน้นถึงหน้าที่ของประชาชนที่จะเป็นต้องรู้กฎหมายตามสมควร
2. ละเมิดเพื่อผลประโยชน์
การละเมิดกฎหมายประเภทนี้สามารถชี้ชัดได้ถึงการได้รับการอบรมของพลเมืองนั้นๆ
อาจจะบ่งถึงความมักง่าย เอาความสะดวกของตนเป็นใหญ่
การมุ่งหวังที่จะกอบโกยผลประโยชน์เป็นจำนวนมากให้ตัวเอง
โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมหรือกฎหมายทั้งสิ้น
การละเมิดกฎหมายประเภทนี้เป็นปัญหาในการรักษากฎหมาย
เนื่องจากผู้ละเมิดมักจะให้สินบนแก่ผู้รักษากฎหมายร่วมกันทำทุจริต
ยังมีตัวอย่างอีกมากมาย ซึ่งถ้าประชาชนไม่กระตือรือร้นเพื่อแก้ไขปัญหา
อันเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับตัวเองแล้ว กฎหมายก็ไม่มีความหมาย ฉะนั้น
การอบรมสั่งสอนประชาชนเพื่อให้ความเคารพกฎหมาย รู้กฎหมาย ให้ใช้เป็น รู้สิทธิตนเอง
จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดสำหรับประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย