สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

นักปรัชญาสมัยกรีก

นักปรัชญาเมธีของกรีกที่มีอิทธิพลในทางกฎหมายมหาชนในยุคสมัยนี้มี 3 ท่าน คือ โสกราติส เปลโต และอริสโตเติล จนมีคำกล่าวติดปากว่า “โสกราติส เป็นศาสดาของผู้สอน เปลโต เป็นศาสดาของผู้คิด อริสโตเติล เป็นศาสดาของผู้เรียน”

โสกราติส (Socratis) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เป็นปรัชญาเมธีชาวเอเธนส์ผู้ยิ่งใหญ่
  • ความเป็นโสกราติส ปรากฏอยู่ในผลงานเขียนของเปลโตหลายเรื่อง เช่น ยูไทโฟร อโปโลเกีย ฯลฯ
  • ในฐานะผู้สั่งสอน จึงได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐ กฎหมาย ความยุติธรรม และคุณค่าทางจริยธรรม
  • เป็นผู้ริเริ่มวิธีการแสวงหาความรู้ในทางปรัชญาแบบซักถาม เรียกว่า “วิธีแสร้างแบบโสกราติส” เป็น วิธีตั้งคำถามเพื่อพยายามคาดคั้นหาคำตอบจากคู่สนทนา
  • ศจ.คริสโตเฟอร์ แลงเดล เป็นผู้นำวิธีการนี้มาใช้กับการศึกษาวิชากฎหมายในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า “กรณีศึกษา” (Case Study) ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ใช้วิธีบรรยาย (Lecture) เช่น ในไทยและยุโรป

เปลโต (Plato) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวเอเธนส์ และเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส อายุน้อยกว่าประมาณ 42 ปี
  • เป็นผู้ตั้ง “สำนักอาคาเดมี” (Academy) ซึ่งถือว่าเป็นสำนักปรัชญาถาวรแห่งแรกของโลก และเป็นบ่อ เกิดของมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา
  • เจ้าของวรรณกรรมที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก 3 เรื่อง คือ อุตมรัฐ รัฐบุรุษ และกฎหมาย
  • อุตมรัฐ (Replublic) เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงความคิดเรื่อง รัฐในอุดมคติซึ่งต้องมีความสมบูรณ์ เพียบพร้อมในด้านระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบการเมือง สังคมอุตมรัฐ เป็นสังคมที่มีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย เวลานั้นเปลโตไม่เห็นด้วยกับแบบประชาธิปไตย
  • รัฐบุรุษ (Stateman) เป็นวรรณกรรมที่เปลโตเขียนขึ้นภายหลังยอมรับว่า สังคมแบบอุตมรัฐเป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ยาก และเริ่มยอมรับการจัดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยคนหมู่มาก
  • กฎหมาย (Laws) เป็นวรรณกรรมที่เสนอแนวคิดใหม่ก่อนถึงแก่กรรม โดยยอมรับว่า สังคมแบบที่กล่าวถึงในวรรณกรรมเรื่องรัฐบุรุษก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน อาจมีสังคมใหม่ซึ่งมีกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ

อริสโตเติล (Aristotle) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวเมืองสตากิรา เป็นลูกศิษย์ของเปลโตในสำนักอาคาเดมี อายุน้อยกว่าประมาณ 43 ปี
  • เป็นผู้ก่อตั้ง “สำนักลีเซียม” (Lyceum) เป็นสำนักใหญ่ในกรุงเอเธนส์
  • เจ้าของวรรณกรรมสำคัญ “การเมือง” และ “จริยธรรม”
  • การเมือง (Politics)ได้ชื่อว่าเป็นคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ และอริสโตเติลได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐศาสตร์” เพราะได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความหมายของรัฐ กำเนิดของรัฐ รูปของรัฐ และความสิ้นสุดของรัฐไว้ อย่างละเอียดลออ
  • จริยธรรม (Ethics) เป็นวรรณกรรมที่อธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมและคุณธรรมที่ละเอียดพิศดารที่สุด
  • อริสโตเติล ได้เคยแสดงทรรศนะเกี่ยวกับ “หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ไว้ แม้อังกฤษและสหรัฐ อเมริกา ก็ยอมรับในหลักนิติธรรมนี้ ส่วนในเยอรมันนั้น ทฤษฎีเรื่องนิติรัฐก็ได้รับอิทธิพลจากทรรศนะ นี้ของอริสโตเติลอย่างมาก

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย