สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
นักปรัชญาสมัยโรมัน
สมัยที่โรมรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่กรีกนั้น มีนักปรัชญากฎหมายและการเมืองเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่นับว่าสำคัญและมีบาบาทอย่างยิ่งมี 2 ท่าน คือ ชิเซโร และนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
ชิเซโร (Cicero) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง และรัฐบุรุษคนสำคัญของโรม
- เจ้าของวรรณกรรม สาธารณรัฐ (Republic) และ กฎหมาย (Laws) ซึ่งเขียนในรูปของบทสนทนา ตามแบบของเปลโต แต่มีผู้วิจารณ์ว่าฝีมือด้อยกว่า
- เป็นผู้ที่ยอมรับและอธิบายถึงสิทธิธรรมชาติได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งนำไปเป็นข้อต่อรองกับผู้ปกครอง จนก้าวไปสู่สิทธิของพลเมือง
นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Saint Augustine of Hippo) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักบุญชาวแอฟริกัน ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสังฆราชแห่งเมืองฮิปโป
- The City of God เป็นวรรณกรรมที่เรียบเรียงขึ้นจากแนวคิดของนักบุญเปาโล และเปลโต วรรณกรรม นี้แบ่งสังคมออกเป็น 4 ส่วน คือ บ้าน เมือง โลก และจักรวาล และเน้นความสำคัญของความยุติธรรม
- ทฤษฎีของนักบุญออกัสติน มีส่วนวางรากฐานให้แก่ปรัชญาของนักบุญอไควนัสในเวลาต่อมา
นักปรัชญาสมัยกลาง
ปรัชญาเมธีที่มีอิทธิพลทางกฎหมายมหาชนที่สุดในสมัยกลาง มี 2 ท่าน คือ
จอห์นแห่งซอสเบอรี่ และนักบุญโธมัส อไควนัส
จอห์นแห่งซอสเบอรี่ (John of Salisbury) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ
- เจ้าของวรรณกรรม โปลิเครติคุส (Policraticus) เป็นวรรณกรรมที่เน้นความสำคัญของกฎหมาย
- เป็นผู้ที่ชี้ให้เห็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง ทรราชย์ และ ราชา โดยกล่าวว่า ราชานั้นต้องเคารพ กฎหมายและต้องปกครองประชาชนด้วยบัญชาแห่งกฎหมาย โดยถือว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชน ในขณะที่ทรราชย์คือ ผู้นำที่ไม่ดำรงตนอยู่ในธรรม ประชาชนไม่จำต้องยอมตนอยู่ใต้อำนาจ
นักบุญโธมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอิตาลี ในบั้นปลายแห่งชีวิตได้อุทิศตนให้กับคริสต์ศาสนา
- เป็นผู้ที่ได้อธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติอย่างละเอียดชัดเจน และแนวคิดของปรัชญา เมธีผู้นี้ ภายหลังมีผู้นำไปจัดลำดับชั้นกฎหมาย
- นักบุญอไควนัส แบ่งประเภทของกฎต่างๆ ออกเป็น 4 ประเภทตามลำดับ คือ
กฎนิรันดร เป็นกฎสูงสุด ถือได้ว่าเป็นแผนการสร้างโลกของพระผู้เป็นเจ้า
กฎธรรมชาติ เป็นกฎสูงสุดรองลงมา และว่าด้วยเหตุผล คุณธรรม ความยุติธรรม ซึ่งเป็นกฎแห่งความประพฤติที่สอดคล้องกับกฎนิรันดร
กฎศักดิ์สิทธิ์ เป็นกฎรองลงมา และว่าด้วยหลักประพฤติปฏิบัติทางศาสนา
กฎหมายของมนุษย์ เป็นกฎต่ำสุด และกำหนดหลักประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ในทางโลก
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย