สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐธรรมนูญไทย
1. หากจะนับจำนวนกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งหมดในประเทศไทย ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับที่ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2521 รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ แต่ที่นับเป็นฉบับสำคัญนั้นมีเพียง 13 ฉบับ ดังนี้
- ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
- ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
- ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489
- ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490
- ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492
- ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495
- ฉบับที่ 13 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502
- ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511
- ฉบับที่ 15 ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515
- ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517
- ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519
- ฉบับที่ 19 ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2520
- ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
2. ประเด็นสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ ได้แก่
- รัฐธรรมนูญฉบับแรก (ฉบับที่ 1) ของไทยเป็นฉบับชั่วคราว มีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน
- รัฐธรรมนูญที่จัดทำโดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 ฉบับ (ฉบับที่ 11, 14)
- รัฐธรรมนูญที่จัดทำโดย สภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติ มี 4 ฉบับ (ฉบับที่ 2, 6, 16, 20)
- รัฐธรรมนูญที่จัดทำโดย คณะรัฐประหาร คณะบริหารประเทศชั่วคราว คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน มี 6 ฉบับ (ฉบับที่ 7, 12, 13, 15,18, 19)
- รูปแบบรัฐสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นแบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา มีทั้งสิ้น 6 ฉบับ (ฉบับที่ 6, 7, 11, 14, 16, 20)
- รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมาก ในเรื่องของการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม กับกิจกรรมทางการเมือง
- รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 และฉบับที่ 16 ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมาก ในเรื่องวิธีการจัดทำ และการคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย