สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
โครงร่างของรัฐธรรมนูญ
คำปรารภของรัฐธรรมนูญ
1. โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
คือ
- คำปรารภหรือคำนำของรัฐธรรมนูญ - เนื้อความของรัฐธรรมนูญ
2. คำปรารภ หมายถึง บทนำเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจแสดงเหตุผลแห่งการมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้น หรืออาจวางหลักพื้นฐานทั่วไปของรัฐธรรมนูญ หรือพรรณนาเกียรติคุณของผู้จัดทำก็ได้
3. ปัญหาที่ว่า คำปรารภจะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ประการใดนั้น นักกฎหมายมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ฝ่ายที่เห็นว่า คำปรารภมีความสำคัญอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกับตัวบทกฎหมาย คือ นักกฎหมายของอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ และนักกฎหมายประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์
- ฝ่ายที่เห็นว่า คำปรารภมิใช่กฎหมาย เป็นคนละส่วนกับตัวบทมาตรา คือ นักกฎหมายสหรัฐอเมริกา และประเทศในภาคพื้นยุโรป
4. ประโยชน์ของคำปรารภของรัฐธรรมนูญ คือ
- ช่วยให้รัฐธรรมนูญสละสลวยขึ้น
- ช่วยในการตีความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
- ช่วยให้ทราบประวัติการเมืองของประเทศนั้น
- ช่วยให้ทราบประวัติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนั้น
5. ข้อความที่ปรากฏในคำปรารภ มักมีข้อความดังต่อไปนี้
- ข้อความแสดงให้ทราบที่มาหรืออำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ข้อความที่แสดงวัตถุประสงค์ในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือปณิธานของรัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงถึงอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงถึงประวัติของชาติ
- ข้อความประกาศสิทธิและเสรีภาพของราษฎร
6. สำหรับรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ในเรื่องเกี่ยวกับคำปรารภนั้น มีข้อสังเกตดังนี้
- มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่บัญญัติคำปรารภไว้สั้นๆ คือ พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่น ดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
- รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มักจะมีข้อความในคำปรารภสั้นกว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- รัฐธรรมนูญของไทยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า มักจะมีคำปรารภยืดยาว
เนื้อความของรัฐธรรมนูญ
1. ในส่วนของเนื้อความตามบทมาตราของรัฐธรรมนูญนั้น
จะว่าด้วยเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
- กฎเกณฑ์การปกครองประเทศ (มีความสำคัญที่สุด)
- บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาช
- กฎเกณฑ์อื่นๆ ในรัฐธรรมนูญ
- กฎการแก้ไขเพิ่มเติม - แนวนโยบายแห่งรัฐ
- ความเป็นกฎหมายสูงสุด - บทเฉพาะกาล
- หน้าที่พลเมือง
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำคัญ จึงควรมีความสูงสุดเหนือกฎหมายอื่นใด ซึ่งมีผล 2 ประการ คือ
- การเปลี่ยนแปลงแก้ไขและยกเลิก ย่อมทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา
- สิ่งใดจะมาขัดขวางหรือขัดแย้งมิได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีก่อนหรือมีหลังรัฐธรรมนูญก็ตาม
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย