สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

พรรคการเมือง

แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง

1. พรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน และต้องการนำความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจนั้นไปเป็นหลักในการบริหารประเทศ ด้วยการส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้ง โดยมุ่งหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาล จัดการบริหารประเทศตามแนวนโยบายที่ได้ประกาศไว้กับประชาชนและสมาชิกพรรค

2. บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

  1. การปลูกฝังความรู้และสำนึกทางการเมืองแก่ประชาชน
  2. การคัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
  3. การประสานประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ
  4. การนำนโยบายที่ได้แถลงไว้กับปวงชนเข้าไปใช้ในการบริหารประเทศ

3. ลักษณะของการกำเนิดพรรคการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. การกำเนิดของพรรคการเมืองในรัฐสภา เกิดจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มภายในสภา โดยมุ่งหมายที่จะผนึกกำลังในการต่อรองเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และการดำเนินนโยบายหรือออกกฎหมายตามอุดมการณ์ของกลุ่ม
  2. การกำเนิดพรรคการเมืองนอกรัฐสภา เกิดจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลต่างๆ เช่น สมาคมอาชีพ สหพันธ์กรรมกร องค์กรศาสนา เป็นต้น

4. Grass Root Support หมายถึง แรงสนับสนุนพรรคการเมืองจากประชาชน ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองมีฐานะมั่นคงถาวร สามารถดำเนินการทางการเมืองให้สนองเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง

5. พรรคการเมืองไทยที่ผ่านมาในอดีต มักถูกมองว่าเป็น “พรรคของนักการเมือง” เนื่องจาก

  1. เป็นพรรคที่จัดตั้งโดยนักการเมือง โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนสนับสนุนอย่างจริงใจ
  2. การหาสมาชิกพรรคและการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นเพียงการกระทำให้ครบตามเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
  3. พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองมิได้มีความสัมพันธ์อันต่อเนื่องยาวนาน

ระบบพรรคการเมือง

1. ระบบพรรคการเมือง แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ

  1. ระบบพรรคเดียว (Single Party System)
  2. ระบบสองพรรค (Two Party System)
  3. ระบบหลายพรรค (Multi Party System)

2. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว มี 2 ลักษณะ คือ

  1. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว เป็นระบบที่ใช้อยู่ในประเทศที่มีการปกครองแบบสังคมนิยม แบบคอมมิวนิสต์ หรือแบบเผด็จการ
  2. ระบบพรรคการเมืองเด่นพรรคเดียว เป็นระบบที่เกิดอยู่ในประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น

3. ระบบพรรคการเมืองสองพรรค หมายถึง ประเทศที่อาจมีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีพรรคการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลเพียงสองพรรคเท่านั้น ที่ผลัดเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาล ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ

4. การที่ระบบพรรคการเมืองสองพรรค สามารถเอื้ออำนวยให้รัฐบาลมีโอกาสบริหารประเทศจนครบตามวาระ เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกพรรคการเมือง และเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว

5. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค หมายถึง ประเทศที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากกว่า 3 พรรค โดยแต่ละพรรคการเมืองได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนใกล้เคียงกัน กลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย อิตาลี ฝรั่งเศส และไทย รัฐบาลในกลุ่มประเทศเหล่านี้

  • มักเป็นรัฐบาลผสม และส่วนใหญ่ขาดเสถียรภาพทางการเมือง
  • มักมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันอยู่เสมอ

บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา

1. บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล

    - เลือกสรรบุคคลที่เหมาะสมเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
    - ควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐมนตรี และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่น
    - คำจุนเสถียรภาพของรัฐบาล
  2. บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน

    - ควบคุมรัฐบาลในการบริหารประเทศ
    - มาตรการและวิธีการค้านของฝ่ายค้านในรัฐสภามีหลายรูปแบบ
    - การค้านนั้นต้องดำเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น

พรรคการเมืองในประเทศไทย

1. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ประเทศไทยมีกฎหมายพรรคการเมืองหลายฉบับ เช่น

  • พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498 (ฉบับแรก) ยกเลิกเมื่อปี 2501 โดยคณะปฏิวัติ
  • พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2511 ยกเลิกเมื่อปี 2514 โดยรัฐประหาร
  • พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2517 ยกเลิกเมื่อปี 2519 โดยคณะปฏิรูปฯ
  • พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ยกเลิกเมื่อปี 2534 โดยคณะ ร.ส.ช.

2. กฎหมายพรรคการเมืองเหล่านี้ ได้ใช้อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องถูกยกเลิกไปโดยการปฏิวัติรัฐประหาร สลับกับการร่างใช้ใหม่เมื่อมีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย

3. การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 ซึ่งยังมิได้มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมือง นักการเมืองในสมัยนั้นต้องต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งแทน

4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 มีเจตนารมณ์ที่จะให้มีพรรคการเมืองจำนวนน้อยพรรค จึงมีข้อบัญญัติไว้ว่า หากพรรคการเมืองพรรคใด สมาชิกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งไม่ถึงจำนวนที่กำหนดจะต้องยุบรวมกับพรรคอื่น

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย