ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์

บทนำ
ความเป็นมาพอสังเขป
ประวัติเกี่ยวกับผู้รจนา
รูปแบบและวิธีการรจนาคัมภีร์สัททนีติ
สาระสำคัญในสัททนีติ ปทมาลา
ส่วนที่เป็นเนื้อหาย่อย
เนื้อหาสาระโดยสังเขป

บทนำ

        ภาษาบาลี (ภาษาบาลี: ปาลิ) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่างๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน: Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่า ภาษามคธ หรือ ภาษามาคธี อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่า ภาษาบาลี และมาคธีนั้นเป็นภาษาทางภาคใต้ของอินเดีย บางท่านระบุว่าเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษา ทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช

ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท)เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ โดยวาง ทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:

  1. ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
  2. ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
  3. ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
  4. ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม

บางทีก็เป็นคำสมาสยาวๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว

ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร

เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลี ให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น 9 ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ 9 ตามระบบนี้เพิ่มจำนวน มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

ไวยากรณ์

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง

การผันคำนาม

ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม คุณนาม และสัพนาม ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  1. ลิงค์ หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
  2. วจนะ หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
  3. การก การก คือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
    - ปฐมา เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อัน...)
    - ทุติยา เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
    - ตติยา เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย...)
    - จตุตถี เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
    - ปัญจมี เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
    - ฉัฏฐี เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
    - สัตตมี สถานที่ (ที่..., ใน...)
    - อาลปนะ อุทาน (ดูก่อน...)

สระการันต์ คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่างๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่างๆ กันไป

ตัวอย่างเช่น คำว่า สังฆะ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์จะผันเป็น สังโฆ, ประธานพหูพจน์เป็น สังฆา, กรรมเอกพจน์เป็น สังฆัง, กรรมรองเอกพจน์เป็น สังฆัสสะ ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ก็ผันเป็น ภิกขุ, ประธานพหูพจน์เป็น ภิกขะโว หรือ ภิกขู, กรรมเอกพจน์เป็น ภิกขุง, กรรมรองเอกพจน์เป็น ภิกขุสสะ หรือ ภิกขุโน ฯลฯ



การผันคำกริยา

คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัยและใส่วิภัตติ ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค
การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้

กาล ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด

  1. วัตตมานา กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
  2. ปัญจมี ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
  3. สัตตมี ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
  4. ปโรกขา กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (นี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว)
  5. หิยัตตนี กริยาอดีต
  6. อัชชัตตนี กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้ หรือในวันนี้
  7. ภวิสสันติ กริยาที่จะกระทำ
  8. กาลาติปัตติ กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)

บท ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร

  1. ปรัสสบท เป็นการกระทำอันส่งผลกับผู้อื่น
  2. อัตตโนบท เป็นการกระทำอันส่งผลกับตัวเอง หรือมีสภาวะเป็นอย่างนั้นอยู่เอง
  3. วจนะ เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
  4. บุรุษ บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
    - บุรุษที่หนึ่ง หมายถึงผู้อื่น (เขา)
    - บุรุษที่สอง หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ)
    - บุรุษที่สาม หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน)

ตัวอย่างเช่น กริยา วะทะ ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ ถ้าจะบอกว่า ฉันพูด ก็จะเป็น วะทามิ, เราพูด เป็น วะทามะ, เธอพูด เป็น วะทะสิ, เขาพูด เป็น วะทะติ, ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ, ฉันจักพูด เป็น วะทัสสามิ ฯลฯ

การลงปัจจัย สำหรับธาตุของคำกริยา ก่อนที่จะใส่วิภัตตินั้น อันที่จริงต้องพิจารณาก่อนด้วยว่า กริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย