ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ชนชาติไทยมาจากไหน
ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
ไท และไทยสยาม
แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย
การจัดระดับชั้นของสังคมไทย
แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยนั้น เราศึกษาได้จาก
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นหลักฐานที่ปรากฏเป็นตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ
เกี่ยวกับคนไทยในสมัยโบราณไว้ อาจจะปรากฏอยู่ตามฐานเจดีย์ กำแพงโบสถ์ ผนังถ้ำ
แผ่นไม้ ใบลาน สมุดข่อย เช่น จารึกสุโขทัย จารึกมอญ เป็นต้น
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โครงกระดูกมนุษย์ พระพุทธรูป ร่องรอย
การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้การศึกษาประวัติศาสตร์อาจแบ่งหลักฐานได้อีก
2 ประเภท ดังนี้
- หลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ หมายถึง
บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ เช่น บันทึก จดหมายเหตุ เป็นต้น
- หลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ หมายถึง
ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้น ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว
โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วยความคิดเห็น คำวินิจฉัย ตลอดจนเหตุผลอื่น ๆ
ประกอบ เช่น พงศาวดาร ตำนาน คำให้การ เป็นต้น
สำหรับการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทยนั้น นอกจากจะใช้หลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังจะต้องอาศัยหลักฐาน การวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า การตีความ จากนักวิชาการในหลายสาขาวิชาด้วยกัน เช่น นักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด