ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ชนชาติไทยมาจากไหน
ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
ไท และไทยสยาม
แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย
การจัดระดับชั้นของสังคมไทย
แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
การจัดระดับชั้นของสังคมไทย
มิได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เพราะมีปัจจัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ
-
วงศ์ตระกูล เป็นสิ่งที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเป็นสิ่งที่ได้มาโดยความสามารถ เช่น เป็นขุนนาง ขุน หลวง พระยา ( ดูสกุล )
-
ตำแหน่งทางการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูง จะมีอำนาจและได้รับการยกย่อง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้แทนราษฏร ฯลฯ
-
ตำแหน่งทางราชการ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีเหรียญตรา เช่น ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายพล เป็นต้น
-
อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และการเมือง เช่น พ่อค้าคหบดี นักหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากรรมกร
-
ความมั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์สินเงินทอง มักจะได้รับการยกย่องอยู่ในระดับสูง ความมั่งคั่งจึงคล้ายเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและได้รับเกียรติในสังคม
-
ระดับการศึกษา ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงมักจะได้รับการยกย่อง ยิ่งศักดิสูงเท่าไรยิ่งจะได้รับการยกย่องมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่การทำงาน คนมีศึกษาสูงย่อมได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ
-
อาชีพ ปกติคนที่มีอาชีพเป็นที่ยกย่องจะได้รับสถานภาพสูงในสังคม เช่น นักการเมือง นักการทูต ครู อาจารย์ นักกฏหมาย แพทย์ ทหาร ตำรวจ ฯลฯ
ส่วนผู้มีอาชีพแบบใช้งาน งานจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า เช่น อาชีพที่ต้องใช้แรงงาน ช่างฟิต ช่างทาสี กรรมกรแบกหาม เป็นต้น
-
ชั้นสูงสุด 1 . พระมหากษัตริย์ และพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ
-
ชั้นสูงธรรมดา 2 . คณะรัฐมนตรี่ รัฐบุรุษชั้นนำ
-
ชั้นค่อนข้างสูง 3 . ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจอุตสาหกรรมชั้นนำ ที่มีอิทธิพล
-
ชั้นกลางสูง 4 . ปัญญาชนชั้นนำ ข้าราชการชั้นพิเศษ
-
ชั้นกลางธรรมดา 5 . ข้าราชการชั้นเอก พ่อค้า
-
ชั้นต่ำปานกลาง 6 . ข้าราชการชั้นผู้น้อย ช่างฝีมือ
-
ชั้นกลางค่อนข้างต่ำ 7 . เสมียนพนักงาน ลูกจ้าง
-
ชั้นต่ำ 8 . กรรมกร ชาวนา พ่อค้าหาบเร่
ยิ่งไปกว่านั้นชั้นชนในสังคมไทยยังอาจแบ่งได้ 8 ชั้น ดังนี้
-
ชั้นสูงสุด (supreme) มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถอยู่บนยอดสุด รองลงมามีเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เช่น พระบรมวงศ์เธอ
-
ชั้นสูง (elite) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี บุคคลชั้นรัฐมนตรีทั้งหลาย องคมนตรีและรัฐบุรุษผู้มีชื่อ
-
ชั้นค่อนข้างสูง (upper) ประกอบด้วย บุคคลชั้นปลัดกระทรวง นายพล อธิบดี อธิการบดีมหาวิทยาลัย ผู้นำทางการค้าและเศรษฐกิ
-
ชั้นกลางสูง (upper middle) ประกอบด้วยปัญญาชนชั้นนำ ช้าราชการชั้นพิเศษ ผู้อำนายการกองหรือสำนักงาน อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของสถาบันขั้นมหาวิทยาลัย ครู อาจารย์อื่นที่มีคุณวุฒิสูงและมีชื่อเสียง นักธุรกิจชั้นนำ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นักเขียนผู้มีชื่อ นักวิชาการ นายแพทย์ชั้นนำ
-
ชั้นกลางธรรมดา (middle) ประกอบด้วยข้าราชการชั้นเอกธรรมดา และชั้นโท พ่อค้า ปัญญาชนชั้นรอง ผู้ทีสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีและโทในประเทศหรือจากต่างประเทศ ทนายความ นายแพทย์ นักธุรกิจชั้นรอง ครู อาจารย์ทั่วไป
-
ชั้นกลางค่อนข้างต่ำ (Lower-middle) ประกอบด้วยข้าราชการชั้นตรี นักธุรกิจบุคคลผู้ที่พอมีพอกิน การศึกษาไม่สูงนัก ราว ๆ ม .8 หรือ มศ .5 หรืออย่างมากก็อาชีวศึกษาชั้นสูง หรืออนุปริญญา ช่างกลหรือช่างเครื่องยนต์
-
ชั้นตำปางกลาง (upper-lower) ได้แก่เสมียน พนักงานอันดับต่ำในวงราชการองค์การอุตสาหกรรม ลูกจ้างชั้นสูง ช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างทาสี
-
นต่ำ (lower-lower) ได้แก่กรรมกรหาเช้ากินค่ำ ผู้ไม่มีฝีมือ (unskilled labours) ที่ใช้แต่กำลังแรง ชาวนาที่ปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์บางอย่างในปริมาณน้อยพอกินพอใช้ในครอบครัวแม่ค้าหาบเร่ หรือตามแผงลอย
การจัดระดับชั้นชนที่กล่าวมาไม่ถึงกับเป็นกฏตายตัวแน่นอน
เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเปิด
ทุกคนจึงสามารถที่จะเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นหรือถูกเลื่อนไปทางที่ต่ำลงได้
เช่น ชาวนา ชาวไร่ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวนาชาวไร่ตลอด
หากมีความรู้ความสามารถก็อาจเป็นผู้แทนราษฏร ปลัด แพทย์ พยาบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด
รัฐมนตรี ฯลฯ
ในขณะเดียวกันคนที่มีตำแหน่งสูก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในระดับสูงอยู่อย่างนั้นตลอดไป
ยกเว้นพระราชโอรสพระธิดาของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งประสูติแต่พระมารดาที่เป็นพระขนิษฐาภคินี
( น้องสาว ) ต่างพระมารดาของพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงเท่านั้น
นอกเหนือจากนี้แล้วเชื้อสายของเจ้านายอื่นๆ จะกลายเป็นสามัญชนในช่วงสี่อายุคน
พระราชโอรสพระธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ประสูติแต่พระราชินีที่เป็นพระขนิษฐาภคินีต่างพระมารดาของเจ้านายเหล่านี้จะมีฐานันดรต่ำลงมาตามลำดับ
และเมื่อถึงหลานทวดจะไม่มีฐานันดรเลย ลักษณะจะข้ามวรรณะกันไม่ได้
แต่ปัจจุบันระบบวรรณะนี้จะอ่อนลง
สังเกตได้จากคนที่อยู่ในวรรณะจัณฑาลนอกจากจะถูกจัดว่าเป็นชนชั้นต่ำต้อยที่สุดแล้ว
ยังได้รับการเหยียดหยามจากวรรณะอื่น รวมทั้งไม่อาจทำงานในระดับสูงได้
ต้องทำงานอะไรก็ตามที่วรรณะอื่นเขาไม่ทำกันเท่านั้น
ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของรัฐไทย ในที่นี้ จะกล่าวถึง 2 เรื่อง คือ
แนวคิดเรื่องถิ่น กำเนิดชนชาติไทย
คือความพยายามสืบค้นหาถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของคนไทยว่า เคยอยู่ ณ แหล่งใด
มาก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย และ อาณาจักรต่าง ๆ
ในดินแดนที่ชนชาติไทยอาศัยอยู่