สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ทหารไทยในอิรัก
ตอนที่นายกทักษิณเดินทางไปเยือนสหรัฐฯเมือกลางปี 2003 ได้สัญญากับ Bush ว่า
ไทยจะส่งทหารไปอิรัก
สาเหตุที่ส่งไปน่าจะเพราะไทยให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ
และไทยกลัวจะไม่ได้รับสถานะพันธมิตรนอกนาโต้ และหลังจากสงครามอิรัก
อเมริกาแสดงศักดาความเป็นเจ้าและรัฐบาลก็หวังของแถมคือ FTA
นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลทักษิณคิดว่าจะได้ตอนส่งทหารไปอิรัก แต่ผลเสียก็มี คือ
สงครามอิรักเป็นสงครามที่ไม่มีความชอบธรรม ก่อนหน้านั้นที่ไทยส่งทหารไป เช่น ติมอร์
เขมร ไทยส่งไปภายใต้กองกำลังรักษาสันติภาพของ UN จึงมีความชอบธรรมที่จะส่งไป
แต่คราวนี้ไทยส่งไปเพื่อช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับสหรัฐฯในการยึดครองอิรัก
เพราะฉะนั้นจึงล่อแหลม จะเป็นการชักศึกเข้าบ้านหรือไม่
ตอนก่อนที่จะส่งทหารเข้าไป ดูเหมือนว่าผลดีจะมากกว่าผลเสีย แต่พอระยะหลัง
ผลเสียเริ่มหนักขึ้นในแง่ของความไม่ชอบธรรมของสงคราม การจับตัวประกันไปสังหาร
รัฐบาลคิดว่าสถานการณ์กำลังน่าจะสงบแล้ว ไทยจะได้เข้าไปดำเนินโครงการฟื้นฟูอิรัก
บริษัทของไทยน่าจะได้ประโยชน์ แต่ผลออกมาไม่ได้เป็นไปตามคาด ยังวุ่นวายไม่รู้จบ
สถานการณ์ล่อแหลมมากขึ้น
ดังนั้น ประเด็นชักศึกเข้าบ้าน เป็นเป้าของการก่อการร้าย
และเป็นศัตรูกับโลกมุสลิมก็ชัดเจนมากขึ้น สถานการณ์ภาคใต้ก็รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
จึงเริ่มมีคนตั้งข้อสังเกตว่า เพราะไทยไปใกล้อเมริกามากเกินไปหรือไม่?
เพราะไทยส่งทหารไปอิรักหรือไม่? รัฐบาลเลยตั้งท่าว่าจะถอย ไทยอยู่ครบ 1 ปีตามสัญญา
แล้วในที่สุดก็ถอนทหารออกมา
ช่วงก่อนสงครามเย็น-1960
ช่วงทศวรรษ 1970-1990
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ
ท่าทีไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทักษิณ
ไทยกับสงครามอิรัก
ทักษิณเยือนสหรัฐฯ
ทหารไทยในอิรัก
Bush เยือนไทย
สถานะพันธมิตรนอกนาโต้
สถานการณ์ความสัมพันธ์ล่าสุด
การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ
สหรัฐฯต้องการอะไร
ไทยต้องการอะไร
การเจรจา
ผลเสียของ FTA ไทย-สหรัฐฯ
ผลดีของการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ
ยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ
สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ
ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา : ภัยหรือโอกาสต่อไทย
อนาคตของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา
ทางเลือกนโยบายไทยต่อสหรัฐฯ (Policy Options)
นโยบายสายกลาง
บทสรุป