สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ในการวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาในกรอบของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ประเด็นที่ไทย-สหรัฐฯมีความขัดแย้ง หรือประเด็นที่ต้องกำหนดท่าทีต่อสหรัฐฯ
ต้องวิเคราะห์ว่า มีประเด็นใดบ้างที่จะทำให้ไทยต้องตอบสนองต่อสหรัฐฯ
ประเด็นจะแบ่งเป็น
ประเด็นปัญหาระดับโลก
ประเด็นปัญหาระดับภูมิภาค
ประเด็นปัญหาระดับทวิภาคี
ประเด็นปัญหาระดับโลกที่เป็นเรื่องเศรษฐกิจ เป็นเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า
การเงิน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคงที่เป็นเรื่องใหญ่ในตอนนี้ คือ
การก่อการร้าย การแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง (weapon proliferation)
โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ เคมี และเชื้อโรค สหรัฐฯ
กลัวว่าถ้าอาวุธเหล่านี้แพร่ขยายออกไป และตกไปอยู่ในมือประเทศที่เป็นศัตรูกับสหรัฐฯ
หรืออยู่ในมือของขบวนการก่อการร้าย
ก็จะก่อให้เกิดบรรยากาศหรือภัยคุกคามต่อเสถียรภาพในภูมิภาคต่างๆ เช่น อิหร่าน
ถ้าอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
ก็หมายถึงอิหร่านสามารถจะไปข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านได้
ถ้าเกาหลีเหนือมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
เกาหลีใต้หรือญี่ปุ่นจะรู้สึกอย่างไร เพราะฉะนั้น
ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นระดับโลกที่สหรัฐฯให้ความสนใจ ไทยจะมีท่าทีอย่างไร
อีกเรื่องคือ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
สหรัฐฯถือว่าเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องการให้เสริมสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น
และต่อต้านประเทศเผด็จการ ท่าทีของไทยจะเป็นอย่างไร
จะคัดค้านสหรัฐฯเรื่องการชูธงประชาธิปไตย หรือจะสนับสนุน หรือไม่แน่ใจ
ประเด็นที่ตามมาจากเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เป็นประเด็นในระดับภูมิภาคคือ
ท่าทีของสหรัฐฯในประเด็นที่เกี่ยวกับพม่า พม่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
มีการปกครองแบบอำนาจนิยม ไทยจะมีท่าทีอย่างไร ไทยยืนอยู่ข้างอาเซียน
ไทยกับฟิลิปปินส์เป็นเพียงเสียงข้างน้อยในอาเซียน
ไทยไม่กล้าไปชูธงประชาธิปไตยเพื่อให้ประเทศอาเซียนไม่พอใจ เพราะในอดีต
ไทยพยายามกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียน
และอาเซียนจะเป็นกลไกในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย
ไทยไม่อยากก่อให้เกิดความขัดแย้งในอาเซียน ไทยจึงมายืนอยู่ข้างอาเซียน
และชนกับสหรัฐฯและตะวันตก แต่จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายต่างประเทศใหม่ ต้องเอาใจสหรัฐฯมากขึ้น
นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ไทยจะยืนอยู่ตรงไหน จะยืนอยู่ข้างตะวันตกและสหรัฐฯ หรือจะอยู่ข้างอาเซียน
และประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่เกิดชัด แต่ในอนาคตอาจจะเกิดขึ้นคือ
ความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม ซึ่งต่อไปในอนาคต ถ้าเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมา
ท่าทีของไทยจะเป็นแบบไหน
ด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-สหรัฐฯ ด้านความมั่นคง มีประเด็นว่า
ไทยจะกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ในอดีต ช่วง
10-20 ปีที่ผ่านมา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯได้เสื่อมทรามไปมากกว่าช่วงทศวรรษที่ 1950-1960
ความร่วมมือ
ระหว่างทหารไทย-สหรัฐฯจะเป็นไปในลักษณะใด ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ท่าทีของฝ่ายทหารค่อนข้างจะไม่อิงสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯไม่ได้ช่วยอะไรไทยมากนัก
อาวุธยุทโธปกรณ์ไทยก็ซื้อจาก จีน รัสเซีย
ในอนาคตความร่วมมือไทย-สหรัฐฯจะเป็นไปในลักษณะไหน
เช่นการที่สหรัฐฯมาขอตั้งคลังแสงลอยน้ำในอ่าวไทย ถ้าในอนาคตสหรัฐฯมาขออีก
ไทยจะยอมให้หรือไม่ รวมทั้งบทบาทไทยในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ
ไทยจะกำหนดท่าทีอย่างไร
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯจะมาถึงจุดที่ว่า
เมื่อไทยมองความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น
ไทยควรจะยืนอยู่จุดไหนในความสัมพันธ์สามเส้า ไทยจะไป proสหรัฐฯ ห่างจากจีน
ญี่ปุ่น หรือจะ pro จีนและห่างเหินจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น หรือใกล้ชิดญี่ปุ่น
หรือว่าไทยจะอยู่ตรงกลางในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์เท่ากัน (equidistance) คือ
ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เท่าเทียมกันกับสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น
อย่างไรจะเป็นประโยชน์กับไทยมากที่สุด
นี่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ของไทยในอนาคต
ช่วงก่อนสงครามเย็น-1960
ช่วงทศวรรษ 1970-1990
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ
ท่าทีไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทักษิณ
ไทยกับสงครามอิรัก
ทักษิณเยือนสหรัฐฯ
ทหารไทยในอิรัก
Bush เยือนไทย
สถานะพันธมิตรนอกนาโต้
สถานการณ์ความสัมพันธ์ล่าสุด
การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ
สหรัฐฯต้องการอะไร
ไทยต้องการอะไร
การเจรจา
ผลเสียของ FTA ไทย-สหรัฐฯ
ผลดีของการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ
ยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ
สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ
ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา : ภัยหรือโอกาสต่อไทย
อนาคตของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา
ทางเลือกนโยบายไทยต่อสหรัฐฯ (Policy Options)
นโยบายสายกลาง
บทสรุป