ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีและปรัชญาทางการเมือง

ปรัชญาการเมืองของกรีก
ปรัชญาการเมืองสนับสนุนอำนาจเด็ดขาด
ปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)
ข้อโจมตีระบบอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
สาธารณรัฐอภิชนาธิปไตย
ทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพของการเมือง
แนวความคิดในภาคปฏิบัติ

ปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)

- สังคมในศตวรรษที่ 18

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งก็คือ อุตสาหกรรมทอผ้า
  • การค้าและเศรษฐกิจตามเมืองท่า เกิดขึ้นมากมาย

- การเติบโตของชนชั้นกลางหรือชนชั้นกฎุมพี (Bourgeois)

  • เสรีภาพ ความสุข ความก้าวหน้า
  • คุณธรรม หลักเหตุผล
  • มีอำนาจเศรษฐกิจ / แสวงหาอำนาจทางการเมือง

- วัฎจักรความก้าวหน้า


เสรีภาพ = ความก้าวหน้า

กฎหมาย (Law) คือ ข้อบัญญัติที่อาศัยหลักเหตุผล ที่มีพื้นฐานของความจริง และส่งผลให้เกิดความสุข ทั้งยังทำลายอคติ ความเชื่อเก่าๆ และนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด

มีนักคิดที่สำคัญ 3 ท่าน คือ

  • John Locke (1632-1704)
  • Charles-Louis de Secondat Montesquieu (1689-1755)
  • Jean Jacques Rousseau (1712-1778)

1. John Locke (1632-1704)

- บิดาของ Locke เป็นพวกสนับสนุนรัฐสภาให้ทำสงครามกลางเมือง แล้วยังเป็นพวก Puritant ต่อต้านนิกาย Church of England ในประเทศอังกฤษ จึงหนีไปอเมริกา
- จบการศึกษาจาก Westminster และ Oxford
- เติบโตท่ามกลางความปั่นป่วนของความคิดทางสังคม การเมือง ปรัชญา และการต่อสู้ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา
- Locke เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐสภา

 

“Two treatises of Government” (1690)

- ตอบโต้ระบบอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
- อธิบายเกี่ยวกับสภาวะธรรมชาติ ดังนี้

  1. มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ ดีงาม มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือกัน
  2. มีสิทธิเสรีภาพที่สมบูรณ์ มีความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ และจะไม่ทำอะไรตามใจชอบ เพราะ

- มีกฎหรือเหตุผลธรรมชาติสอนให้รู้ว่า ต้องไม่รุกล้ำสิทธิเสรีภาพของคนอื่น = สิทธิขั้นพื้นฐาน

- หากมีการรุกล้ำสิทธิเสรีภาพของคนอื่น จะมีการเข้ามาปกป้อง ช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ ลงโทษผู้ละเมิด = สิทธิธรรมชาติที่จะลงโทษ

แล้วทำไมมนุษย์ต้องสละสภาวะธรรมชาติมาอยู่ร่วมกัน?

เพราะในสภาวะธรรมชาติ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผู้พิพากษาที่จะตัดสินข้อพิพาท ไม่มีอำนาจบังคับทุกคนเป็นใหญ่เท่าเทียมกันหมดในการตัดสินเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง ดังนั้นอาจเกิดปัญหา กล่าวคือ

1) มนุษย์มักเข้าข้างตนเอง พวกพ้อง นำไปสู่ความไม่ยุติธรรม
2) มีแนวโน้มที่จะลงโทษด้วยอารมณ์ และชอบแก้แค้น

ดังนั้น มนุษย์จึงต้องสละทิ้งสภาวะธรรมชาติไปสู่สภาวะสังคม เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพราะกฎหมาย ศาล และผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้เกิดหลักประกันสิทธิเสรีภาพที่แน่นอน จึงเกิดรัฐหรือรัฐบาล ซึ่งรัฐที่ดีจะต้องปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

การเข้าสู่สภาวธรรมชาติเกิดจากความยินยอม ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ธำรงความสงบสุข ปลอดภัย สามารถเสวยสุขจากทรัพย์สิน รอดพ้นจากการรุกรานของผู้อื่น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย