ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

แบดมินตัน

ประวัติของกีฬาแบดมินตัน
วิธีการแข่งขัน
อุปกรณ์ในการเล่นแบดมินตัน

อุปกรณ์ในการเล่นแบดมินตัน

ไม้แร็กเกต

ไม้แร็กเกตมีหลายประเภท เช่น ไม้ล้วน ๆ ไม้ผสมโลหะ และโลหะล้วน ๆ มีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม้แร็กเกตที่ดีต้องขึงเอ็นตึง ไม้ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเอามือกดเอ็นไม่หย่อน หรือในการตรวจสอบดูว่า เอ็นตึงหรือไม่ โดยใช้เอ็นตีฝ่ามือ ฟังเสียงเอ็นนั้น หรือใช้หลังเล็บกรีดเอ็นจากล่างขึ้นบนแล้วฟังเสียงเอ็นนั้น เสียงสูงย่อมหมายถึงตึงมาก แสดงว่าขึงเอ็นตึงดีแล้ว จากการวิจัยและทดสอบมีข้อยืนยันเกี่ยวกับชนิดของเอ็นที่ใช้ขึงแร็กเกตว่า ขนาดของเอ็นเส้นเล็ก จะมีแรงสปริงดีกว่าเอ็นเส้นใหญ่

ไม้แร็กเกตแบดมินตันมีน้ำหนักเบาประมาณ 4 - 5.5 ออนซ์ โดยปกติความยาวของไม้แร็กเกตแบดมินตันจะมีความยาวประมาณ 26 นิ้วฟุต และเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อน การเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตันจึงควรทำด้วยความรอบรู้เพื่อประหยัดทั้งทรัพย์ และสูงด้วยประสิทธิภาพที่จะนำไปใช้ ไม้แร็กเกตที่มีน้ำหนักมากจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มแรงเหวี่ยงขณะตีลูก แต่มีข้อเสียที่ทำให้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ความสำคัญของการเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตัน ขึ้นอยู่กับความสมดุลของน้ำหนักถ่วงระหว่างหัวไม้ กับปลายไม้มากกว่าสิ่งอื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกไม้แร็กเกตนี้คือ "ความรู้สึกขณะสัมผัส หมายถึง ขณะจับไม้ขึ้นอยู่กับขนาดของด้านจับ และแรงกระจายน้ำหนักของไม้ หัวไม้จะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับการถือไม้ของผู้เล่น แร็กเกตบางอันมีน้ำหนักเฉลี่ยสมดุลกันทั้งด้านหัวและด้ามจับ วิธีการเลือกไม้แร็กเกตควรจะเลือกหลาย ๆ ชนิด จนกว่าจะพบหน้าไม้มีความสมดุลและถือได้สบาย ผู้เล่นสามารถควบคุมหน้าไม้และเพิ่มพลังในการตีลูกได้ด้วย

ไม้แร็กเกตถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากซึ่งถ้า เปรียบแร็กเกตคงเทียบได้กับอาวุธที่สำคัญประจำตัวของนักรบในสนามรบเลยที เดียว นักรบที่มีความสามารถประกอบกับมีอาวุธที่ดีย่อมชนะการแข่งขันได้ง่าย ดังนั้นการเลือกหาแร็กเกตที่มีคุณภาพดีมีประสิทธิภาพสูงไว้เป็นคู่มือในการ ฝึกหรือเล่น จึงเป็นเรื่องที่ผู้เล่นจะต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ต้องรู้และเข้าใจถึงคุณภาพแร็กเกตในแต่ละชนิด

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ มิได้ตราข้อกำหนดสำหรับเรื่องน้ำหนักหรือขนาดของไม้แร็กเกตแต่อย่างใด คงปล่อยให้บริษัทผู้ผลิตไม้แร็กเกตกำหนดและออกแบบรูปร่าง น้ำหนักและขนาดของไม้แร็กเกตตามรสนิยมของนักแบดมินตันโดยทั่วไป

ลูกขนไก่

ลูกขนไก่เป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้น อย่างละเอียดอ่อน คุณภาพของลูกขนไก่มีความสำคัญมาก เพราะหากนำลูกขนไก่ที่ด้อยคุณภาพมาใช้ในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน อาจเป็นผลทำให้การฝึกซ้อมหรือแข่งขันไม่ประสบผลเท่าที่ควร

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ได้กำหนดให้ลูกขนไก่ที่ใช้ในการแข่งขัน อาจจะทำด้วยวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ก็ได้ แต่ต้องมีวิถีการวิ่งเหมือนวัสดุธรรมชาติมีหัวเป็นไม้คอร์กเป็นฐาน ห่อหุ้มด้วยหนังบาง มีขน 16 ขน ปักบนฐานบนเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถึง 1 เศษหนึ่งส่วนแปดนิ้ว ความยาวของขน 2 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้วเศษสามส่วนสี่นิ้ว โดยตอนปลายของขนแผ่เป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ถึง 2 เศษห้าส่วนแปดนิ้ว มีด้ายมัดติดกันจนแน่น มีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 กรัม ถึง 5.50 กรัม



สนาม

สนามจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากกีฬาแบดมินตันได้วิวัฒนาการจากกีฬาที่นิยมเล่นกลางแจ้ง แต่เดิมเคยใช้สนามหญ้าหรือสนามดิน หรือปูนซีเมนต์มาสู่ความเป็นมาตรฐานที่อยู่ในร่ม ตามประวัติสนามที่เป็นมาตรฐานในร่มแห่งแรกได้ริเริ่มสร้างที่สโมสรยูนิตี้ โดยคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร หรือนายประวัติ ปัตตพงษ์ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากวงการแบดมินตันว่าเป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย ท่านมีเป้าหมายเพื่อฝึกผู้เล่นให้เคยชินกับสภาพในร่ม ในระยะแรก ๆ นั้น สนามแบดมินตันในร่มนิยมทำด้วยปูนซีเมนต์ทาสี หรือวัสดุที่ทำให้เกิดความฝืด ต่อมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ที่มีความสวยงามยืดหยุ่น และมีความฝืดพอสมควร ซึ่งพบเห็นมากในปัจจุบันนี้ ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศกลับพัฒนาแบดมินตันในร่มไปเป็นพื้นที่เป็นยางผสม พลาสติก ซึ่งมีความฝืดมากกว่าสนามที่ปูด้วยไม้ปาร์เกต์เสียอีก ทำให้นักกีฬาไทย พบกับปัญหาในการแข่งขันในต่างประเทศ และความแตกต่างของพื้นสนามชนิดนี้ทำให้มีการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศอยู่หลาย แห่งจนปัจจุบันนักกีฬา มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสนามในประเภทนี้

เสา

เสาแบดมินตันจะต้องมีความสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว จากพื้นสนาม เสาจะต้องมีความมั่นคง พอที่จะรักษาตาข่ายให้ขึงตึงอยู่ได้และจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างสนาม ในกรณีที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ จะต้องใช้วิธีหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย ตรงจุดใดก็ได้ เช่น เสายาว ๆ หรือหาวัตถุอย่างหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 นิ้วฟุต ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้ขึ้นมา ที่ตาข่ายถ้าใช้วิธีนี้กับสนามเล่นประเภทคู่ เสายาว ๆ นี้ต้องปักที่เส้นเขตข้างของสนาม ส่วนสนามการเล่นประเภทเดี่ยว ก็ปักไว้ที่เส้นเขตข้างของสนามเหมือนกัน

ตาข่าย

ตาข่ายจะต้องทำด้วยดายเส้นละเอียดสีเข้มและมี ขนาดตาเท่า ๆ กัน มีตากว้างยาว 5 ส่วน 8 ฟุต ตาข่ายต้องขึงให้ตึงจากเสาต้นหนึ่งถึงอีกต้นหนึ่ง ตาข่ายต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนบนของตาข่ายต้องอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางสนาม 5 ฟุต และเสาต้องอยู่ห่างจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาว พับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือกหรือเส้นลวดตลอดแถบผ้าขาวนี้และขึงตึงอยู่ระดับกับหัวเสาทั้ง 2 ข้าง

ความแตกต่างของตาข่ายที่ขึงด้วยเชือก กับเส้นลวดนั้นอยู่ที่การสะบัดของลูกขนไก่ ถ้าเป็นเชือก เมื่อลูกขนไก่กระทบถูกขอบบนสุดของตาข่ายจะมีโอกาสสะบัดพลิกตาข่าย แต่ถ้าเป็นการขึงด้วยเส้นลวดนั้นความยืดหยุ่นมีน้อย ดังนั้นเมื่อชนกับลูกขนไก่ที่เกิดจากแรงตีจะไม่ค่อยมีโอกาสพลิก ซึ่งปัจจุบันสนามที่เป็นมาตรฐานนิยมขึงด้วยลวดสลิงเป็นส่วนมาก และตาข่ายในบางสถานที่นิยมใช้เส้นด้ายคู่ ซึ่งมีสภาพทนทานกว่าและไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย