ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียีปต์
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมจีน
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) คำว่า "เมโสโปเตเมีย" เป็นภาษากรีก หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง ปัจจุบันพื้นที่ดินแดนดังกล่าว คือ ประเทศอิรัก ณ ที่แห่งนี้มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากมาย แต่ละชนชาติเหล่านั้นได้นำความเจริญมาสู่เมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะความโดดเด่นทางด้าน ดาราศาสตร์ ชาวแบบิโลเนียนและอัสซีเรีย นอกจากมีความเชื่อในเรื่องของการบูชาดวงดาวที่เป็นสัญลักษณ์แทนเทพต่าง ๆแล้ว ยังมีการสังเกตการขึ้นสูงและเคลื่อนต่ำลงของดวงอาทิตย์และได้นำความรู้จากการสังเกตนี้มาใช้ให้ในการบอกช่วงเวลาโดยชาวแบบิโลเนียนและอัสซีเรียนจะกำหนดให้วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ความสามารถทางดาราศาสตร์ยังปรากฏในการสร้าง นาฬิกาแดด (Sundial) โบราณรูปลูกบาศก์ และเมื่อได้สังเกตว่า ดวงอาทิตย์ย้ายที่ลับฟ้าไปทางเฉียงใต้เฉียงเหนือด้วย จึงทำให้เกิดการกำหนดฤดูกาลแห่งเพาะปลูกเก็บเกี่ยวขึ้น ส่วนดวงจันทร์ก็มีการเว้าแหว่งเมื่อเวลาลี่ยนแปลงจึงมีการสร้างปฏิทินปีทางจันทรคติขึ้น ความโดดเด่นทางด้าน ดาราศาสตร์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเกิดจากการที่มีชนพื้นเมืองเป็นผู้มีความสามารถในการสังเคราะห์ความรู้โดยกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือ เป็นผู้ช่างสังเกต โดยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงดาวบนท้องฟ้าทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จนก่อเกิดเกิดกระบวนการคิดจึงได้มาซึ่งความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตของผู้คนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน