สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้ของมนุษย์

พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)
ยุคฟรานซิส เบคอน
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

ยุคฟรานซิส เบคอน

จากการที่เบคอนได้วิพากษ์วิจารณ์วิธีการหาเหตุผลของอริสโตเติล ว่ามีข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้เบคอนได้เสนอวิธีการหาความรู้ความจริงขึ้น ซึ่งเรียกว่า วิธีอุปมาน (Inductive reasoning) เป็นวิธีที่อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล (เหตุย่อย) เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นในอันที่จะนำมาสรุปเป็นเหตุหรือ ผลหรือตั้งเป็นทฤษฎี (เหตุใหญ่)

ดังนั้นองค์ประกอบหรือขั้นตอนในการอุปมานจึงอาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นคือ

  1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดย่อย ๆ ก่อน
  2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงย่อยเหล่านั้น
  3. สรุปผล

การแสวงหาความรู้โดยวิธีอุปมานของฟรานซิส เบคอน มี 3 แบบ ขอแยกกล่าวดังนี้

การอุปมานอย่างสมบูรณ์ (Perfect induction)

เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทุก ๆ หน่วยในหมู่ประชากร เพื่อดูรายละเอียดของหน่วยย่อยทั้งหมดแล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และสรุป โดยวิธีการนี้จะทำให้ได้ความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติอาจทำไม่ได้เพราะเป็นการสิ้นเปลืองเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งประชากรบางอย่างเราไม่สามารถตรวจสอบให้ครบถ้วนทุกหน่วยได้ เช่น เชื้อโรค อากาศ น้ำ เป็นต้น



แบบอุปมานแบบเบคอเนียน (Baconian induction)

เป็นการอุปมานที่ไม่สมบุรณ์วิธีหนึ่ง ซึ่งเบคอนเสนอว่า ในการตรวจสอบข้อมูลนั้น ควรแจงนับหรือศึกษารายละเอียดของข้อมูลเป็น3 กรณี คือ

1) พิจารณาส่วนที่มีลักษณะเหมือนกัน (Positive instances)
2) พิจารณาส่วนที่มีลักษณะแตกต่างกัน (Negative instances)
3) พิจารณาส่วนที่มีความแปรเปลี่ยนไป (Alternative instances)

ผลจากการศึกษารายละเอียดของข้อมูลเป็น 3 กรณีดังกล่าวนี้ จะทำให้สรุปเป็นความรู้ใหม่ได้

วิธีการศึกษาหาความรู้ความจริงตามวิธี การของเบคอน ถึงแม้จะเป็นการช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า การค้นพบความรู้ใหม่ตามวิธีการของเบคอนนี้เป็นการค้นพบที่ปราศจากจุดมุ่ง หมายที่แน่นอน และบางครั้งความรู้ความจริงที่ได้อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการ หรือไม่อาจสรุปเป็นความรู้ความจริงได้ ถ้าหากรายละเอียดนั้นไม่แน่นอนหรือมีความแปรเปลี่ยนมาก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย