สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้ของมนุษย์
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)
ยุคฟรานซิส เบคอน
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)
ได้เสนอวีการค้นหาความรู้ความจริง โดยเอาวิธีการของอริสโตเติลและฟรานซิล เบคอน มารวมกันเรียวิธีนี้ว่า วิธีการอนุมานและอุปมาน (Deductive - Inductive method) ซึ่งต่อมาได้มีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ชื่อใหม่ว่า Reflective Thinking เพราะกระบวนการคิดแบบนี้เป็นการคิดกลับไปกลับมาหรือคิดอย่างใคร่ครวญรอบคอบ ผู้ที่คิดวิธีการนี้คือ จอห์น ดุย (John Dewey) เขาได้เขียนไว้ในหนังสือ How We Think เมื่อปีค.ศ.1910 แบ่งขั้นการคิดไว้ 5 ขั้นคือ
- ขั้นปรากฏความยุ่งยากเป็นปัญหาขึ้น (A felt difficulty) หรือขั้นปัญหานั่นเอง
- ขั้นจำกัดขอบเขตและนิยามความยุ่งยาก (Location and definition of the difficulty) เป็นขั้นที่พยายามทำให้ปัญหากระจ่างขึ้น ซึ่งอาจได้จากการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง
- ขั้นเสนอแนะการแก้ปัญหาหรือสมมติฐาน (Suggested solutions of the problem
hypotheses)
ขั้นนี้ได้จากการค้นคว้าข้อเท็จจริงแล้วใช้ปัญญาของตนเดาคำตอบของปัญหาที่
เกิดขึ้น จึงเรียกกันว่า ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นอนุมานเหตุผลของสมมติฐานที่ตั้งขึ้น (Deductively reasoning out the consequences of the suggested solution) ขั้นนี้เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลนั่นเอง
- ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing the hypotheses by action) ขั้นนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะทดสอบดูว่า สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมานั้นเชื่อถือได้หรือไม่
ขั้นตอนการคิดแบบนี้ต่อมาเรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
นั่นเอง กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยปัญหาก่อน
แล้วจึงใช้การอนุมานเพื่อจะเดาคำตอบของปัญหาหรือเป็นการตั้งสมมติฐานขึ้น
ต่อมาก็มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน และใช้หลักของการอุปมานสรุปผลออกมา
วิธีการทางวิทยาศาสตร์จึงมีวิธีการคิดเป็น 5 ขั้นดังนี้
1. ขั้นปัญหา (Problem)
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypotheses)
3.
ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Gathering data)
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
5. ขั้นสรุป (Conclusion)
วิธีการวิจัยนั้นยึดถือและปฏิบัติตาม ลำดับขั้นของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
ผลทีได้จากการวิจัยจึงเป็นความจริงหรือความรู้ที่เชื่อถือได้