ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist theory)
ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
รูปแบบของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (types of constructivism)
กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสอนใน CLEs
การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิด (open-ended
Environment)
ฐานการช่วยเหลือสำหรับการกล่าวออกมาและการสะท้อนผล
เครื่องมือกระบวนการ (Processing Tool)
กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
กลไกการพัฒนาทางปัญญาของพีอาเจต์ เรียกว่า ภาวะความสมดุล (Equilibrium)
เป็นความสมดุล (balance) ของโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure)
กับสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก (World)
ที่มันไม่เหมือนกัน (match) กับสิ่งที่เขาเคยคิดไว้ก่อน (preconceived) ยกตัวอย่าง
เช่น ผู้ใหญ่อาจจะใช้คำว่า แมว เมื่อเอ่ยถึงสัตว์ แต่เด็กอาจจะคิดไปว่ามันคือ
สุนัข พีอาเจต์บอกว่ามันไม่เหมือนกัน(mismatch)
ระหว่างสิ่งที่เป็นจริงของโลกกับอีกสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในความคิดเดิม เขาเรียก
ว่าการเสียสมดุล (Disequilibrium) และเขาบอกว่ามันเป็นเรื่องดีสำหรับเด็ก ๆ
เพราะมันจะเป็นการกระตุ้นที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นผู้ชำนาญการ (expertise)
สภาวะการเข้าสู่สมดุล (Equilibration) มี 2
กระบวนการทั้งสองกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสกีมาทางปัญญา (Cognitive
Schema) ของเด็ก ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำความเข้าใจ(understand)
และจัดระเบียบความรู้ใหม่ ตัวอย่างเช่น สกีมา (Schema) ของเด็กเกี่ยวกับเรื่องหมา
ก็คือ เป็นสัตว์มี 4 ขา และเห่า กระบวนการที่ หนึ่ง เรียกว่า assimilation
เด็กจะรับข้อมูลใหม่เข้าไปในสกีมา จากตัวอย่างเด็กจะรู้จักสุนัขและมีสกีมา
เกี่ยวกับสุนัข สายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น Coker Spaniel เด็กก็จะ assimilating
ประสบการณ์เกี่ยวกับสุนัขสายพันธุ์ต่าง ๆ เข้าไปในสกีมาที่เรียกว่า สุนัข
กระบวนการที่ สอง เรียกว่า accommodation เป็นการสร้างสกีมาขึ้นมาใหม่
หลังจากการจัดระเบียบข้อมูล (organize information) ที่ไม่สามารถ assimilate
เข้าไปในสกีมาเดิมได้ ยกตัวอย่างเด็กจะรู้จัก raccoon และรู้จักสุนัข เป็นอย่างดี
raccoon มันคล้ายกับสุนัขที่ เดิน 4 ขา แต่ไม่เหมือนสุนัขที่มีอยู่ในป่า
และเป็นสัตว์กลางคืน ดังนั้น เด็กเขาจะปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
และสร้างสกีมาขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับ raccoon (Sternberg & williams, 1960 : 45-46)
ขั้นของการพัฒนาการทางปัญญา (Stages of Cognitive development)
ขั้นของการพัฒนาการทางสติปัญญาของ piaget มีดังนี้ Sensorimotor , preoperational ,
concrete operational และ Formal operation
ซึ่งแต่ละขั้นพัฒนาการเป็นการสังเกตลูกของเขาเอง ดังนี้
- ขั้นที่ 1 Sensorimotor Stage อยู่ช่วงแรกเกิด 2 ปี พีอาเจต์ ได้แบ่งขั้น
Sensorimotor ออกเป็นขั้นย่อย 6 ขั้น คือ 1. Reflexive 2. Primary Circular
Reactions 3. Secondary Circular Reaction 4. Coordination of Secondary
Reaction 5. Tertiary Circular Reaction 6. Beginning of thought โดยสรุปก็คือ
ขั้น Sensorimotor
เป็นขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาความคิดก่อนระยะเวลาที่เด็กอ่อนจะพูดและใช้ภาษาได้
พีอาเจต์กล่าวว่าสติปัญญาความคิดของเด็กในวัยนี้ แสดงออกโดยการกระทำ (Action)
เด็กสามารถแก้ปัญหาได้แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะอธิบายได้
- ขั้นที่ 2 Preoperational (18 เดือน 7 ขวบ)
เด็กวัยนี้อยู่ในช่วงพัฒนาการคิด (develop the metal representation)
มีการใช้คำพูดในการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวและคนอื่น
ยังยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กสามารถบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้
แต่ยังเรียงลำดับของจากมากไปหาน้อยไม่ได้ และยังไม่เข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น
- ขั้นที่ 3 Concrete operations (อายุ 7-12 ปี ) โดยทั่วไปเกิดในช่วงประมาณ
( 7 ปี หรือบางทีก็ 6 ปี 12 ปี ซึ่งเด็กสามารถสร้างความคิดภายในได้ (internal
representation )
คิดเป็นเหตุผลได้และสามารถคิดย้อนกลับสามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ อย่าง
- ขั้นที่ 4 Formal operations โดยประมาณจะอยู่ในช่วง 11 ปี หรือ 12 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่ ช่วงวัยนี้ จะสามารถคิดย้อนกลับ (Reverse) เข้าใจนามธรรม (abstract) สามารถมองเห็นความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกัน มีความคิดเชิงเหตุผลและอุปมาได้ พัฒนาการนี้จัดว่าเป็นขั้นสุดยอดของความคิด เริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง
Sternberg & williams (1960) กล่าวว่า ทฤษฎีของ piaget คือ ทฤษฎีเกือบมีความสมบูรณ์มากที่สุดในการพัฒนาทางปัญญาซึ่งมีประโยชน์อย่างมากมายในการนำไปใช้ เพื่อการวิจัยและในตัวครูเอง ก็จะได้จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยอย่างไรก็ตามก็มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับความเที่ยงของทฤษฎีของเพียเจต์ (Validity of Piagets theory)ที่ได้นำไปวัดพัฒนาการของมนุษย์ โดยมีการขยายความเกี่ยวกับพัฒนาทางปัญญาของเด็กและมีการตั้งคำถาม ดังนี้
- ข้อจำกัด เกี่ยวกับหลักฐานที่พีอาเจต์ (piaget) นำมาสนับสนุนในเรื่องขั้นพัฒนาการตามธรรมชาติ
- คำถามเกี่ยวกับอายุที่เด็กทำภารกิจบรรลุได้แตกต่างกันไปตามชนิดของภารกิจ
- ความล้มเหลวของเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามที่ทำภารกิจล้มเหลว
- พีอาเจต์ (Piaget) ให้เหตุผลที่มีความเหมาะสมเพียงใด ผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่ทั้งหมดหรือไม่ที่จะมีเหตุผลขั้น formal operation ได้
- ทฤษฎีนี้สามารถ อ้างอิงสรุปข้ามวัฒนธรรมได้หรือไม่
ทั้งนี้จุดอ่อนดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ทฤษฎีไม่มีคุณค่าและมีประโยชน์น้อยสำหรับนักการศึกษาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามกลับเป็นเรื่องที่น่าท้าทายที่ครูจะใช้เป็นดัชนีหนึ่ง (Indicate)
และระมัดระวังในการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีของพีอาเจต์ (piaget) ให้ความสำคัญกับเรื่องของการคิด
(thinking)
และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการทางด้านปัญญาของมนุษย์ที่เป็นกระบวนการภายใน
(inside) และข้างนอก(Outward)
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถความเจริญเติบโต
และการประยุกต์ความสามารถที่เด็กมีตามภาวะการเจริญเติบโต (mature)
ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์หรือภารกิจต่าง ๆ ที่เขาต้องเจอในโลก
ซึ่งแนวคิดสำคัญนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
Social Constructivism
ทฤษฎีของ Lev Vygotsky
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้ศึกษาทางด้านพัฒนาการทางปัญญาเช่นเดียวกับพีอาเจต์
แต่จะแตกต่างกันบ้างที่เขาให้ความสนใจกับการมีปฏิสัมพันธ์จากโลกภายนอก (outward)
จะทำให้เกิดพัฒนาการทางปัญญาใน (inside) ขณะที่ทฤษฎีของ
พีอาเจต์จะเป็นการศึกษาด้านภาวะการเจริญเติบโตภายในของมนุษย์ อายุ
และขั้นพัฒนาการจะมีผลต่อการนำไปและประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ภายนอก
หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการเริ่มจากข้างใน (inside) ไปยังข้างนอก (outward)
Lev ygotsky (1896 1934 )
เกิดปีเดียวกันกับพีอาเจต์ เขาไม่จบวิทยาศาสตร์แต่ได้รับการศึกษา
ในด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัยมอสโค ต่อจากนั้นเขาไปศึกษาทางด้านอักษรศาสต ร์
(literature) และภาษาศาสตร์ (linguistics)
และทำให้เขาได้รับปริญญาเอกและได้เขียนหนังสือ ชื่อ psychology of art ทฤษฎีของ
Vygotsky เขาให้ความสำคัญกับเรื่องการเมือง (political environment ) มาก
เขาเริ่มต้นทำงานทางด้านจิตวิทยา ในระยะสั้น ๆ หลังจากรัสเซียได้ปฏิรูปการปกครอง
จากระบบกษัตริย์ (Czar) เป็นระบบ Marxism
ปรัชญาของเขาให้ความสำคัญกับเรื่องทางสังคมและการมีส่วนร่วม
ซึ่งเขาเชื่อว่าแต่ละคนล้วนมีเป้าหมายของตนเองและต้องการบรรลุเป้าหมายนั้น
ดังนั้นจึงต้องมีการสนับสนุนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) และร่วมมือกันทำงาน
(Co operation)
Vygotsky เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 38 ปี
ในขณะที่ทฤษฎีของพีอาเจต์มีอิทธิมากเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านปัญญาในปี 1960-1970
แต่ทฤษฎีของ Vygotsky กลับได้รับการกล่าวขวัญมากหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว
โดยเฉพาะในปี 1980- 1990
ทฤษฎี Vygotsky ค่อนข้างมีข้อจำกัดมากกว่าของพีอาเจต์
แต่ว่าวิธีการและแนวคิดสำคัญของเขา
ได้รับการยอมรับมากเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านปัญญาใน 3 เรื่อง คือ กระบวนการภายใน
(internalization) the zone of proximal development และ Scaffolding (Sternberg &
William : 202)
- Internalization (กระบวนการภายในจิตใจ)
กระบวนการภายในจิตใจ (internalization) ก็คือการซึมซับ (obsorption) หรือการนำเอาความรู้(knowledge) ที่มีอยู่ในบริบทของสังคมนั้น ๆ ด้วยการสังเกต(observe) ด้วยตัวเอง Vygotsky เชื่อว่าความคิดและภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทักษะทางภาษาจะไปช่วยพัฒนาความคิดของพวกเขา ยกตัวอย่าง การมีทักษะทางภาษาที่เข้มแข็ง เด็ก ๆ ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันได้ดี และเรียนรู้จากการสนทนาได้มากกว่าการที่พวกเขาจะไม่เข้าใจถ้อยคำที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันเลย
- บริเวณความใกล้เคียงพัฒนาการทางปัญญา (The Zone of proximal development )
แนวคิดที่สองของ Vygotsky ก็คือ Zone of proximal development หรือเรียกว่า ZPD ซึ่งเป็นขอบเขต (Range) ระหว่าง 2 สิ่ง คือ สิ่งหนึ่งเป็นขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยอิสระ กับอีกขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ เช่น กัน แต่ต้องได้รับการแนะนำ (guidance) จากผู้ชำนาญการ โดยธรรมดาแล้วเด็ก ๆ เขาจะทำอะไรโดยการสังเกต โดยจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่พวกเขามี นอกจากการมีปฏิสัมพันธ์ก็คือ ประสบการณ์ (experience) Vygotsky ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตระหว่างการที่สามารถทำได้ด้วยตนเองกับการทำได้โดยอาศัยการชี้แนะ ความแตกต่างดังกล่าวทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักการศึกษามาก
งานวิจัยของ Vygotky พบว่าเด็กบางคนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนอง
โดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วย เด็กบางคนไม่สามารถจะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเอง
แต่ถ้าผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถทำได้แต่เด็กบางคนจะไม่สามารถเรียนรู้ได้ แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือ ซึ่ง
วิกอทสกี้ อธิบายว่า เด็กแต่ละคนที่อยู่ในวัยเดียวกันจะมี ZPD แตกต่างกัน
บางคนอยู่เหนือ Zone of proxima growth บางคนอยู่ระหว่าง และบางคนอยู่ต่ำกว่า
ตัวอย่างเช่นในการทดสอบเด็กอายุ 5 ขวบ 2 คน ด้วยการให้ตอบคำถาม
ปรากฏว่าเด็กสองคนตอบปัญหาได้เท่ากัน ผู้ทดสอบมักจะ
สรุปว่าเด็กสองคนตอบปัญหาของเด็กอายุ 7 ขวบ โดยได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น
อธิบายหรือชี้แนะปรากฏว่าเด็กคนหนึ่งสามารถตอบได้แต่อีกคนตอบไม่ได้
ก็แสดงว่าเด็กที่ตอบไม่ได้อยู่ต่ำกว่า ZPD วิกอทสกี้ (Vygotsky )
เรียกการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ว่า Scaffoldindg
ซึ่งหมายความว่าการใช้ความช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้
หรือการแก้ปัญหาหรือการทำอย่างใด อย่างหนึ่ง
ซึ่งเด็กไม่สามารถทำได้ด้วยตนเองให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์
(สุรางค์ โค้วตระกูล , 25456 : 63)
Scaffolding
นักจิตวิทยาหลายคนได้ขยายแนวคิด วิกอทสกี้ (Vygotsky)
หรือทำความเข้าใจจากเด็กเรียนรู้และคิดได้อย่างไร (How children learn and think)
Scaffolding เป็นเทคนิคสำคัญที่จะไปกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน
ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามลำพังได้ โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับ
ZPD ของ Vygotsky ที่นิยามเกี่ยวกับ Scaffold
หลายคนอาจจะนึกถึงโครงสร้างชั่วคราวเป็นข้างต้น
ที่คอยสนับสนุนการทำงานของงานก่อสร้างโดยเฉพาะตึกสูง ๆ ให้สามารถทำงานได้
โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่เข้าถึงได้ยาก แต่ใน Instructional Scaffolding
แล้วก็จะเป็นยุทธศาสตร์การสอน (teaching strategy)
ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกันกับความหมายที่กล่าวมาข้างต้น
แต่พื้นที่ใช้เกี่ยวกับการสร้าง(Construction site) ความรู้
ยุทธศาสตร์นี้จะเป็นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนด้วยการร่วมมือกัน(Collaborative)
ในภารกิจที่มันซับซ้อนและยากที่จะทำสำเร็จเพียงคนเดียวโดยผู้สอนจะคอยสนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
โดยแนวคิด Vygotsky นี้จะสนับสนุน Instruction Scaffolding
ซึ่งเป็นเทคนิคนักการสอนที่มาจากการทำงานของเขา ซึ่งเขาเชื่อว่า
การเรียนรู้ของเด็กจะต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่และการหล่อหลอมทางสังคม (Hope
Haartman , 2002)
เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน Stern berge (2002 : 61)
ได้เสนอแนะหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
-
เด็กจะเรียนรู้ด้วยการสื่อสารทั้งที่เป็นทั้งกระบวนการภายในและกระบวนการภายนอก
กล่าวคือ เด็ก ๆ จะคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ และสังเกตสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา
นักเรียนที่มีความคิดก็จะเป็นค้นพบ Model
ในการเรียนรู้ของพวกเขาซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งในเรื่องที่ดี (good)
หรือไม่สมบูรณ์ (ill)ได้
- ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่สามารถบรรลุ เต็มตามศักยภาพมีน้อยมากที่ครูจะพบว่า
เด็กเขาจะบรรลุผลได้เต็มตามศักยภาพซึ่งทฤษฎีของ Vygotsky
จะบอกว่าเด็กอยู่นอกขอบเขตของ ZPD
และครูต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือเด็กให้พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพนั้น
- ภาษาและความคิดเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ภาษามีความสำคัญมากในการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ก็จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสำหรับทุก ๆ คน ครูต้องเป็นผู้สร้างไม่ใช่เป็นผู้ทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาถิ่นของเด็กเมื่อเขามาที่โรงเรียน
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งความรู้ ที่ผู้เรียนต้องสร้างขึ้นมาเอง โดยมีฐานแนวคิดของทฤษฎีแบ่งออกเป็น 2 ฐาน คือ Cognitive Constructivist และ Social Constructivist