ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ญาณวิทยา

(Epiststemology)

       ญาณวิทยา เป็นคำแปลของคำว่า Epistemology ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยรูปแบบของความรู้ พัฒนาการ และขอบเขตของความรู้ ญาณวิทยาตามศัพท์หมายความว่า ศาสตร์แห่งความรู้ (Science of knowledge) เป็นคำที่ประกอบขึ้นด้วย คำ 2 คำ คือ Episteme ซึ่งหมายความว่า ความรู้กับคำว่า Logos ซึ่งมีความหมายว่าศาสตร์ ญาณวิทยามีลักษณะเหมือนกับจิตวิทยา (ว่าด้วยการรับรู้) ประการหนึ่งคือ เป็นศาสตร์ที่ไม่พูดถึงหน้าที่ของความรู้ ฉะนั้นจึงทำหน้าที่ไม่เหมือนกับตรรกศาสตร์ (ว่าด้วยความจริงของความรู้)

สาระสำคัญของญาณวิทยาก็คือ ศึกษาเรื่องกำเนินความรู้ เนื้อหาของญาณวิทยาก็คือ การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ วิธีการ วัตถุประสงค์ ลักษณะ เงื่อนไข ความมีเหตุผล และความคลาดเคลื่อนของความรู้ ผู้รู้บางท่านกล่าวว่าความจริงแล้วญาณวิทยาเป็นการ “อภิปรายปัญหาเกี่ยวกับความรู้ในแง่ปรัชญา” โดยเอาวิธีการของปรัชญาคือ วิธีนิรมัย วิธีอุปนัย วิธีวิเคราะห์ และวิธีสังเคราะห์ มาใช้ในการอภิปราย ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วนั่นเอง และมีทัศนะแบบปรัชญา คือ เป็นอิสระ ใจกว้าง ใคร่ครวญอย่างไม่ลดละโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคือ ประสบการณ์และการคิดหาเหตุผล ทฤษฎีบ่อเกิดความรู้ทางญาณวิทยา คือ เหตุผลนิยม (Rationalism) ประจักษ์นิยม (Empiricism) เพทนาการนิยม (Sensationism) อนุมาณนิยม (Adriorism) อัชฌัติกญาณนิยม (Inguitionism) และทฤษฎีธรรมชาติของความรู้ คือ จิตนิยม (Idealism) สัจนิยม (Realism) ปฏิบัตินิยม (Pragmatism)

เหตุผลนิยม (Rationalism)
ประจักษ์นิยม (Empiricism)
เทพนาการนิยม (Sensationism)
อนุมาน (Apriorism)
อัชฌัติกญาณนิยม (Intuitionism)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย