ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

สันทราย แนวสันทรายที่เกิดจากกระแสน้ำขนานชายฝั่ง บริเวณนี้จะพบเปลือกหอยที่กระแสน้ำพัดพามาทับถมกัน เป็นแนวสันเปลือกหอย ที่บริเวณใกล้ปากน้ำ จ. เพชรบุรี มีโคลนมาทับถมเป็นสันแนวในท้องถิ่น จ. เพชรบุรี เรียกว่า “กะซ้า” (สันเปลือกหอย)มีการขุดเปลือกหอยซึ่งผุกร่อนจนป่น มาทำเป็นอาหารสัตว์ แนวกระซ้ามีลักษณะเช่นเดียวกับสันทราย บริเวณระหว่างแนวกะซ้ากับชายฝั่ง เป็นที่ลุ่ม ชาวบ้านใช้พื้นที่นี้ทำนา

Sand spit ( สันทรายจะงอย) หรือสันทรายงอ (Hook) เป็นสันทรายที่มีลักษณะแคบยาว ปลายหนึ่งติดอยู่กับฝั่งอีปลายหนึ่งที่โค้งงอยื่นไปในทะเล ตอนปลายโค้งเป็นจะงอยตามอิทธิพลของกระแสน้ำและคลื่น งอเข้าหาฝั่ง พบบริเวณชายฝั่งที่มีการทับถมหรือยกตัว เช่นที่แหลมโพธิ์ จ. ปัตตานี แหลมหลวง จ. เพชรบุรี แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช

สันทรายปิดอ่าว (Bay mouth Bar) เป็นสันทรายที่โค้งงอจดชายฝั่งปิดล้อมอ่าว เกิดเป็นทะเลสาบภายในขึ้น เมื่อทะลสาบตื้นเขิน บางแห่งเป็นแอ่งน้ำ เช่น บริเวณ สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

สันทรายบรรจบเกาะ (Tombolo) เป็นสันทรายที่งอกจากชายฝั่งทั้งสองข้างไปเชื่อมต่อเกาะ ทำให้เกาะมีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกไป เช่นบริเวณเขาเต่าหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สันนิษฐานว่าเขาเต่าเป็นเกาะอยู่ชายฝั่ง และมีสันทรายทั้งสองด้านงอกไปชนเกาะ มีพื้นที่เป็นทะเลภายในอยู่หลังเกาะ ต่อมาพื้นที่ตื้นเขินปัจจุบันเป็นอ่าวเก็บน้ำเขาเต่า

ชะวากทะเล เป็นชายฝั่งยุบตัว ทางด้านทะเลอันดามันบริเวณปากแม่น้ำจะกว้างกว่าปกติเช่นแม่น้ำกระบุรี จ. ระนอง มีปากแม่น้ำกว้างถึง 4.5 กิโลเมตร

ลานโคลน ( Mud Flat ) บริเวณอ่าวที่มีน้ำทะเลขึ้นลง นำตะกอนแขวนลอยที่มาจากลำน้ำพัดพาตะกอนมาตกเป็นชั้น ๆ เมื่ออ่าวตื้นเขินมาก ๆ จะกลายเป็นลานโคลน และจะโผล่ขึ้นมาเมื่อน้ำลด เวลาน้ำทะเลขึ้นพื้นที่จมอยู่ใต้น้ำ เช่น บริเวณ ต. บางขันไทร ต.แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เป็นแหล่งที่มีหอยแคลง

Natural (สะพานหินธรรมชาติ) ที่เกิดจากการกร่อน การกัดเซาะของน้ำทะเล ที่ เกาะตะรุเตา จ.สตูล และ บ้านฝั่งแดง อ. เมือง จ.ชุมพร

หลุมยุบ (Sinkhole) เป็นลักษณะภูมิประเทศหินปูนลักษณะเป็นแอ่งก้นกะทะ จะพบบริเวณที่เป็นหินปูน เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลจากที่สูงสู่ที่ขังในแอ่งชั่วเวลาไม่นาน น้ำจะซึมหายไปหมด หลุมยุบเกิดขึ้นเนื่องจากโพรงใต้ดินในบริเวณหินปูนขยายกว้างขึ้น ทำให้บางส่วนของเพดานโพ รงรับน้ำหนักเบื้องบนไม่ไหวเกิดการทรุดแอ่นเป็นหลุมเป็นแอ่ง พบที่ ราชบุรี กาญจนบุรี เขานางพันธุรัตน์ จ. เพชรบุรี ทะเลบัน จ.สตูล พังงา กระบี่ ยะลา

หลุมจม (Doline) ภูมิประเทศภูเขาหินปูน เกิดจากหลุ่มยุบที่ก้นของหลุมได้ยุบพังลงไปในโพรงข้างใต้ เรียกว่าหลุมจม มักจะมีน้ำขังอยู่ในฤดูฝน หรือบางส่วนมีการอุดตันจะมีน้ำขังถาวรมีลักษณะเป็นหนองน้ำ เช่น จอมบึง จ.ราชบุรี และเกริงกระเวีย จ. กาญจนบุรี ที่จอมบึงน้ำละลายหินปูนจนเกิดรูรั่วน้ำแห้งหมด เมื่อประมาณ 20 กว่าปีจึงมีการใช้พื้นที่เป็นที่ทำนา

หลุมเปิด (Uvala) คือหลุมจมหลาย ๆ หลุมต่อเนื่องกันเป็นแนวลำล้ำใต้ดิน มีผนังหลุมชัน จะพบ ลำธารโผล่จากผนังของหลุมไหลผ่านไปตามแนวยาวของหลุมและมุดไปยังผนังอีกด้าน

ห้วยมุด (Lost stream) คือ ลำธารที่ไหลในบริเวณหินปูนอาจไหลไปบริเวณหลุมยุบหรือหลุมจม ลงไปไหลอยู่ใต้ดิน บางแห่งจะไหลอยู่ใต้ดินหลายกิโลเมตรแล้วไหลออกมาที่ผิวดินอีก หรือไหลออกมาตามริ่มตลิ่งของแม่น้ำสายใหญ่เป็นน้ำตกเช่น น้ำตกไทรโยค จ.กาญจนบุรี หรืออาจลอดเข้าไปใต้ภูเขา เช่น ถ้ำลอดถ้ามีน้ำจากบริเวณหินปูนโผล่ผุดเป็นลำธารเรียก “ห้วยผุด”

หินงอก หินย้อย (Stalagmite and stalactite) เกิดจากน้ำละลายหินปูนไหลย้อ้ลงมาจากเพดานถ้ำ เรียกว่าหินย้อย และมีส่วนที่น้ำหยดลงมาจากเพดานถ้ำสู่พื้นจะเกิดหินงอกขึ้นมา เมื่อหินงอกและหินย้อยชนกันจะเรียกว่า เสาหิน (column) อาจมีการตกผลึกเป็นแคลไซต์ ในถ้ำ



Pothole กุมภลักษณ์ คือ รูหรือโพรงรูกลมในหิน มักพบในหินดินดาน บริเวณแก่ง หรือฐานน้ำตกที่มีกระแสน้ำวน หรือท้องธารน้ำ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดรูรูปหม้อหรือกุมภลักษณ์ คือ ท้องธารที่มีหินทราย หินดินดานที่แข็ง มีน้ำไหลผ่านที่รุนแรง และ ก้อนกรวดที่เป็นหินที่แข็งกว่าหินท้องน้ำ โดย ก้อนกรวดที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็วในกระแสน้ำวนเคลื่อนที่หมุนวนเป็นรอบหลุม เสมือนเครื่องมือเจาะหินหลุมถูกครูด ขัดสีผิวผนังภายในโดยรอบให้ใหญ่ขึ้นและลึกจนเป็นหลุมก้นหลุมจะกว้างกว่าปากหลุม พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำโขง แก่งตะนะ แก่งสะพือ หรือบ่อหินทรายที่ตั้งอยู่บนพื้นราบไหล่เนิน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคราม แก่งกะเบา จ. มุกดาหาร รูรูปหม้อเป็นตัวชี้ว่าบริเวณใดเคยเป็นท้องน้ำ หรือเป็นน้ำตก หรือ บริเวณที่ลำน้ำมาบรรจบกัน

ออบ ออบเป็นโกรกธารน้ำ ซึ่งธารน้ำที่มีอยู่ก่อน ต่อมาเมื่อแผ่นดินยกตัวก็ยังคงรักษาร่องน้ำเดิมไว้ เนื่องจากน้ำไหลกัดเซาะบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดหุบเขาที่มีความลึกชันมาก เช่น ออบหลวง ลำน้ำแม่แจ่มมีร่องน้ำไหลผ่านซอกเขาแคบ ๆ หรือโกรกธาร โดยตัดข้ามสันเขาหินแกรนิต หินไนส์ ที่ขวางอยู่ การกัดเซาะนี้เกิดรวดเร็วทันกับอัตราการยกตัว

ลานหินแตก ที่อุทยานภูหินร่องกล้า อ. นครไทย จ.พิษณุโลก เกิดจากแรงอัดดันตัวของเปลือกโลกจังหวะที่มีแรงถอยตัวเนื้อหินตึงเกิดการฉีกแยกตัวจากกัน(Joint)ในเนื้อหิน และเกิดการเคลื่อนไหวและแตกออกเป็นหุบเขา ขณะเดียวกันก็เกิดการกร่อนและผุพังในทางลึกลงตามรอยแตกแยกของหินทรายโดยมีน้ำและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฝนและแสงแดดเป็นหลัก

ลานหินปุ่ม เกิดจากหินทรายถูกน้ำกัดกร่อนและผุพังตามรอยแตกของพื้นผิว

หน่อหินทราย (stack rock) หรือเสาเฉลียง หินหน่อ เกิดจากหินทรายที่มีส่วนประกอบต่างกัน มีตะกอนดินเหนียวปนเมื่อถูกน้ำจะชะล้างได้ง่าย ทำให้เกิดรอยกิ่ว เนื่องจากการสึกกร่อนไม่เท่ากัน บางกรณีเกิดจากหินทรายบริสุทธิเมื่อถูกน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เนื้อเม็ดทรายเชื่อมกันเป็นหินแข็งเกิดบริเวณผิวหน้าของหินทราย ทำให้ส่วนหน้าทนต่อการสึกกร่อน บริเวณใกล้เคียงสึกกร่อนถูกฝนชะล้าง ไปก่อนส่วนบนที่แข็งจึงเหมือนหมวกกำบังหินด้านล่าง จึงเกิดเป็นแท่ง เช่นที่ป่าหินงาม อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ. อุดรธานี ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

ภูเขาหินทราย หรือเขายอดป้าน ยอดราบเกือบเรียบ พบบริเวณที่เป็นหินทราย เกิดจากการยกตัวของบริเวณนั้น การสึกกร่อนของน้ำดำเนินไปพร้อมๆกัน เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูกระดึง ภูหลวง ภูเรือ จ.เลย จ. เพชรบูรณ์

เขาสันอีโต้ (cuesta) เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกไม่สม่ำเสมอ ด้านหนึ่งยกตัวสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ด้านที่สูงกว่าจะมีการสึกกร่อนมากกว่า ทำให้มีความชัน ส่วนอีกด้านมีความลาดมากกว่ารูปร่างคล้ายมีดอีโต้ พบมากบริเวณที่เป็นหินทรายทางตะวันตกและทางใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น บริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และ เขาอีโต้ จ .ปราจีนบุรี

เสาหิน (columnar joint) มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม เป็นหินอัคนีชนิดบะซอลต์ ที่ลาวาเย็นตัวและเกิดการหดตัว ในประเทศไทศพบหลายแห่งเช่นที่วัดแสนตุ่ม อ.เขาสมิง จ.ตราด เขาปราสาท อ.วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

กุด หรือทะเลสาบรูปแอก (owbow lake) หรือบึงโค้ง เกิดจากแม่น้ำลัดทางเดิน ตัดส่วนของลำน้ำที่โค้งมาก พบที่ลำน้ำชี ลำน้ำมูลในจ. ร้อยเอ็ด มหาสารคราม อุบลราชธานี

เสาดิน ฮ่อมจ๊อม เป็นการกัดเซาะจากร่องน้ำ เกิดจากหิน กรวด ทราย และดินที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน กลุ่มตะกอนเหล่านี้ ส่วนมากเกิดจากการกัดเซาะผุพังของหินแล้วถูกพัดพามาสะสมตัวในพื้นที่ใหม่โดยน้ำ ต่อมาตะกอนที่มาสะสมตัวในพื้นที่ใหม่มีการผุพังสึกกร่อนเกิดขึ้นอีกโดยน้ำฝนและน้ำหลากในพื้นที่ เมื่อน้ำซึมลงไปตามรอยแตก รอยแยกและตามช่องของตะกอนที่จับตัวกันยังไม่แน่น ทำให้ตะกอนหลุดหายไปจากที่เดิมตามแนวที่น้ำไหล การกัดเซาะของทางน้ำจะเกิดทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ทำให้พื้นที่เหล่านั้นมีลักษณะเป็นริ้วเป็นร่อง เป็นแท่งเสาหลากหลายรูปแบบ การกัดเซาะจากร่องน้ำ (gully erosion) เช่น ผาช่อ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เสาดินนาน้อย จังหวัดน่าน แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ โป่งยุบ จังหวัดราชบุรี อย่างไร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย