ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา

นายมิตรสัน ด้วงธรรม : ครูชำนาญการ

ก่อนอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
การปกครอง
ตำนาน
พงศาวดาร
การปกครองระบบเทวสมมติ
อาณาเขต
สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ลักษณะทางด้านสังคม
หลังการปฏิรูปการปกครอง

ลักษณะทางด้านสังคม

การปกครองแบบจตุสดมภ์

ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ

  1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมือง ทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทาง สังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง เป็นที่เกรงขามของประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะ เทพเจ้า
  2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วย เหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
  3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
     
  4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่าง ชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอด ชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
  5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวม เรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
  6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ

    - ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่ -
    ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย

    การเลื่อนชนชั้นในสังคมอยุธยาแม้ไม่มีกฏข้อห้ามในทางทฤษฎีว่าเลื่อนชั้นไม่ได้แบบอินเดีย แต่ในทางปฏิบัติ มักจะทำได้ยากเพราะขุนนางย่อมไม่สนับสนุนไพร่ให้เข้ารับราชการซ้ำยังกีดกันเพราะ อำนาจ อภิสิทธิ์ เกีรยติยศที่ขุนนางได้รับได้มาเพราะตำแหน่งราชการ เมื่อออกจากราชการก็จะหมดทั้ง อำนาจ อภิสิทธิ์และเกียรติยศ จึงไม่สนับสนุนบุคคลอื่นให้เข้ารับราชการนอกจากลูกหลานของตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย