ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์
(รัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 6)

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรรมและศิลปกรรรม
ศิลปกรรม
การต่างประเทศ
การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศตะวันตก
อิทธิพลของอายธรรมตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทย
การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6
การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

ด้านเศรษฐกิจ

     ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีการค้ากับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2398 เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้วได้มีชาติอื่นๆ เข้ามาขอเจราจาทำสนธิสัญญาตามแบบอย่างอังกฤษอีกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เมื่อมีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายมากขึ้น สินค้าแปลกๆใหม่ๆ และวิทยาการต่างๆ ก็แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป ทำให้มีการพัฒนาบ้านเมือง เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น มีการตัดถนนสายต่างๆ ได้แก่ ถนนเจริญกรุง หรือถนนใหม่ บำรุงเมือง เฟื่องนคร สีลม และมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองดำเนินสะดวก ฯลฯ

ตามข้อความในสนธิสัญญาเบาว์ริงกำหนดให้ไทยเรียกเก็บภาษีขาเข้าไม่เกินร้อยละ 3 เท่านั้น แต่เนื่องจากมีเรือเข้ามาค้าขายมากกว่าแต่ก่อนถึงปีละ 103 ลำ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าทุกปี แต่การจัดเก็บภาษีในสมัยนี้ไม่รัดกุมพอ เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นใน พ.ศ.2416 เพื่อรวบรวมภาษีอากรทุกชนิดจากทุกหน่วยงาน และได้ตรมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรหลายฉบับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แบ่งงานในแต่ละกระทรวง กำหนดอัตราภาษีอากรที่แน่นอน ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกมากมาย

เงินตรา ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นใน พ.ศ.2403 ได้เปลี่ยนจากการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ

 

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยมกำหนดให้ 1 บาท มี 100 สตางค์ สร้างเหรียญสตางค์ทำด้วยทองขาว และเหรียญทองแดง และได้โปรดเกล้าฯ ได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้อย่างจริงจัง โดยตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)และตั้งกรมธนบัตรขึ้น สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ นอกจากนี้ยังประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) โดยใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน และในปีเดียวกันได้ประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง เหรียญ เฟื้อง เบี้ยทองแดงต่างๆ เบี้ยสตางค์ทองขาว โดยให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์อย่างไหมแทน

การธนาคารและคลังออมสิน

สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2431 ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ.2449 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันตมงคล) ได้เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ชื่อว่า “บุคคลัภย์” (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า “บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Co,) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด”

คลังออมสินจัดตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ใน พ.ศ.2458 ตามพระราชบัญญัติออมสิน และได้วิวัฒนาการเป็นธนาคารออมสิน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย