ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์
(รัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 6)
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรรมและศิลปกรรรม
ศิลปกรรม
การต่างประเทศ
การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศตะวันตก
อิทธิพลของอายธรรมตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทย
การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6
การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
สภาพสังคมและการศึกษา
การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า
การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ
และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ
ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า
เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดังนั้น ใน พ.ศ.2417
พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น
โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ
เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท
ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420
พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน
45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี
พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124
บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน
และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี
เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง
ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ
ที่เคยประสบมา
การศึกษา
ผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาสมัยใหม่ในระยะแรกของไทย คือ
คณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4
แหม่มแมตตูน ภรรยามิชชันนารีอเมริกัน ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน
พ.ศ.2395 ต่อมาได้รวมกับโรงเรียนของซินแส กีเอ็ง ก๊วยเซียน
ซึ่งเป็นชาวจีนที่นับถือนิกายโปรเตสแตนส์ โรงเรียนนี้รับนักเรียนชายล้วน
มีครูใหญ่เป็นคนไทย และสอนด้วยภาษาไทยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้ายาที่ตำบลสำเหร่ ชื่อว่า
โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสกูล ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ตำบลสีลม เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของไทย
ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ตั้งโดยแหม่มเฮาส์ ใน พ.ศ.2417 ในต่างจังหวัด
พวกมิชชันนารีได้ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง เช่น โรงเรียนปริ๊นส์รอแยลวิทยาลัย
และดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนผดุงราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก
โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี
การปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5
สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา คือ
พระองค์ต้องการสร้างคนที่มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการช่วยบริหารประเทศให้พัฒนามากขึ้น
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกคือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6
ตุลาคม พ.ศ.2414 ทรงพระราชทานเสื้อผ้า อาหารกลางวันทุกวัน ครูก็ได้ค่าจ้าง
ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง ให้ชื่อว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
โดยมีพระยาสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวัง มีฟรานซิส ยี แปตเตอร์สัน เป็นครู
อีกสาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท
พระองค์ทรงห่วงใยมาก เพื่อที่จะไม่ให้กลับมาเป็นทาสอีก
จึงเป็นต้องให้คนเหล่านั้นได้รับการศึกษา เพื่อให้มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพได้
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้น ชื่อ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ใน
พ.ศ.2427
แบบเรียนที่ใช้ในโรงเรียนขณะนั้นมีทั้งหมด 6 เล่ม
ซึ่งเรียบเรียงโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ
วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์และพิศาลกานต์
ต่อมาได้จัดตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2430
ภายหลังยกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษา (สมัยรัชกาลที่ 6
เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ)
และให้ใช้หนังสือแบบเรียนเร็วของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพแทนแบบเรียนทั้ง 6 เล่ม
ต่อได้มีการประกาศใช้โครงการศึกษาชาติ
อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)
ตามแบบแผนของอังกฤษ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงขึ้น เรียกว่า
คิงสกอลาชิป ตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นประจำทุกๆ ปี ปีละ 2 คน
ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรปหรืออเมริกา
การศึกษาแบบแผนใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6
ได้มีการแบ่งการศึกษาออกเป็นสามัญศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาทั่วไปและวิสามัญศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพโดยเฉพาะ
โดยขยายไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และโปรดเกล้าฯ
ให้จัดระเบียบการศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กตามแบบอังกฤษแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน
วชิราวุธวิทยาลัย
พ.ศ.2464 ได้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้
กำหนดให้เด็กชาย-หญิงทั่วพระราชอาณาจักรที่มีอายุตั้งแต่ 7-14 ปี
เข้าเรียนในโรงเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ทุกคนต้องจบชั้น ป.4 เมื่ออายุ 15
ปี ถ้าผู้ปกครองคนใดฝ่าฝืนจะมีโทษ (ครั้นถึง พ.ศ.2503
จึงได้มีขยายการศึกษาภาคบังคับออกเป็น 7 ปี และ 12 ปีในปัจจุบัน)
สำหรับการศึกษาประชาบาลในแต่ละท้องถิ่น กำหนดได้โดยอาศัยทุนทรัพย์ของคนในท้องถิ่น
ซึ่งเรียกว่า เงินศึกษาพลี และคนในท้องถิ่นเป็นผู้ตั้งโรงเรียนขึ้นเอง
แต่อยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาล
การตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัชกาลที่ 6
ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเดิม
ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา ให้ชื่อว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ใน พ.ศ.2459
เพื่อจะได้ผลิตผู้มีความรู้ความสามารถสูงสำหรับเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ
โดยไม่ต้องจ้างชาวต่างประเทศด้วยค่าจ้างแพง บางคนทำงานไม่ค่อยได้ผล
เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ สภาพแวดล้อมและปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่