ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์
(รัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 6)
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรรมและศิลปกรรรม
ศิลปกรรม
การต่างประเทศ
การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศตะวันตก
อิทธิพลของอายธรรมตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทย
การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6
การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
การต่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีดังนี้
นโยบายต่างประเทศ
เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เริ่มมีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการวางนโยบายแผนใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและรับสถานการณ์ต่างๆ ของโลกภายนอก ที่มีผลกระทบกระเทือนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประเทศไทย นโยบายต่างประเทศของไทยแต่ละรัชกาลพอจะสรุปได้ ดังนี้
- นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 4
สมัยนี้เป็นสมัยของการเริ่มต้นเปิดประเทศครั้งใหญ่ของไทย
รัฐบาลถูกบีบบังคับให้ทำสนธิสัญญาที่ผูกมัดเอารัดเอาเปรียบและไม่ธรรม
แต่เพื่อความปลอดภัยและเอกราชของชาติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ใช้นโยบาย ผ่อนสั้นผ่อนยาว
ขึ้นเป็นพระองค์แรก ซึ่งทำให้ไทยรอพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นและเป็นเอกราช
มาจนปัจจุบัน และยังเป็นแนวทางให้รัฐบาลสมัยต่อๆ มาได้ดำเนินนโยบายตามอีกด้วย
- นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างสัมพันธไมตรีอันดีต่อนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก โดยส่งเอกอัครราชทูตไปประจำประเทศต่างๆ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และการส่งเอกอัครราชทูตไปประจำยังต่างประเทศนี้ก็ได้ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ผลจากการมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อนานานประเทศนี้ ทำให้ความตึงเครียดทางด้านการเมืองของไทยกับต่างประเทศดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ ซึ่งผิดกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบที่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจต่างๆ จนหมดสิ้น และยังเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม