ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติศาสตร์การโรงแรมของเมืองไทย

สมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-พ.ศ. 2468)
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468- พ.ศ. 2477)
สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2489)
สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489)
โรงแรมโอเรียลเต็ล (สมัยรัชกาลที่6–สมัยรัชกาลที่ 8)

สมัยรัชกาลที่ 4

การโรงแรมในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้เอง โดยเริ่มขึ้นหลังจากคณะทูตของหม่อมราโชทัยกลับจากเยือนยุโรป ดังจะเห็นได้จากหนังสือภาษาอังกฤษที่พิมพ์จำหน่ายในประเทศไทย ออกเป็นรายปี ชื่อ Bangkok Calendar ของหมอบรัดเลย์ นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังโปรดให้สร้างที่พักตากอากาศขึ้นที่ตำบลอ่างหิน จ.ชลบุรี พร้อมกันนั้นได้สร้างท่าจอดเรือสำหรับคนขึ้นบกไว้ด้วย บ้านพักตากอากาศแห่งนี้ต่อมาเป็นบ้านพักคุรุสภาและปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน

จากหลักฐานหนังสือบางกอกคาแลนดาร์ (Bangkok Calendar) ของหมอบรัดเลย์ (D.B. Bradley) ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทยออกเป็นรายปี พบว่าในปี

พ.ศ. 2407 (ค.ศ.1864) มีประกาศแจ้งความ 3 โรงแรม คือ

1. Union Hotel
2. Oriental Hotel
3. Fisher’s Hotel

 

พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) 2 โรงแรม คือ

1. Union Hotel
2. Oriental Hotel

พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) แจ้งความเหลือเพียงโรงแรมเดียว คือ Union Hotel เพราะเกิดเพลิงไหม้
พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) มีลงแจ้งความไว้ 2 โรงแรม คือ Union Hotel และ Falck’s Hotel
พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) มีโรงแรมลงแจ้งความโรงแรมเดียว คือ Union Hotel

นอกจากโรงแรมในกรุงเทพฯแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าที่ตำบลอ่างหิน แขวงเมืองชลบุรี เพราะที่อากาศดีการทำเป็นสถานที่ตากอากาศให้พวกฝรั่งไปพักผ่อนได้ ลักษณะของโรงแรมเป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ต่อมาได้ชื่อว่า ตำหนักมหาราชาและตำหนักมหาราชินี มีเตียงนอนไว้บริการรวม 44 เตียง เพื่อให้บริการแก่ชาวต่างประเทศที่เดินทางพักผ่อนตากอากาศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย