ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติศาสตร์การโรงแรมของเมืองไทย

      ในครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกไว้ว่า ประชาชนชาวสยามได้มีการติดต่อการค้าพาณิชย์กับชาวยุโรปและจีน ตลอดจนทางการทูต, การเมือง, การทหาร และอื่น ๆ มาก่อน ซึ่งการเดินทางการค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีการเดินทางจากที่หนึ่งไปสู่ที่อื่น ๆ อยู่มาก การเดินทางต่าง ๆ เหล่านี้ หากเป็นพ่อค้าพาณิชย์ธรรมดา การเดินทางก็จะอาศัยที่พักกลางทางหรือวัดวาอารามต่าง ๆ และหากเป็นนักการทูตหรือพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ตามจวนเจ้าเมือง หรือบ้านเศรษฐีคหบดี หรือบ้านญาติต่าง ๆ ที่คุ้นเคยกัน และการเดินทางติดต่อการค้าต่าง ๆ เหล่านี้ ได้มีการบันทึกไว้มากมาย

สมัยกรุงศรีอยุธยา

จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ได้เข้ามากรุงศรีอยุธยาราว พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1687) ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยและได้กล่าวถึงการรับรองแขกเมืองในหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ เรื่องราวที่เกี่ยวกับอาณาจักรสยาม ที่มีบ้านพักสำหรับราชทูตสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงเรื่องการรับทูตต่างประเทศสมัยกรุงศรีอยุธยา ไว้ดังนี้คือ

 

“ว่าด้วยประเพณีการรับทูตต่างประเทศ ตามที่สังเกตเห็นในจดหมายเหตุครั้งกรุงเก่าตั้งแต่ทูตเข้ามาถึงในพระราชอาณาเขต การกินอยู่เป็นของหลวงทั้งสิ้น เห็นจะเป็นด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า “แขกเมือง” เมื่อมีทูตเข้าถึงโดยเฉพาะที่เป็นราชทูต จำทูลพระราชสาสน์ จำต้องให้ทูตพักอยู่ที่ปลายแดนก่อน เพื่อตระเตรียมการรับรองหลาย ๆ วัน ถ้าทูตมาทางทะเลก็ต้องคอยอยู่ที่ปากน้ำ เพราะทางในกรุงจะต้องจัดเรือกระบวนลงไปรับพระราชสาสน์ และทูตานุทูตแห่ขึ้นมา ทั้งจะต้องจัดหอพระราชสาสน์ และที่สำนักทูตตามระยะทาง คือ ที่เมืองสมุทรปราการแห่งหนึ่ง ที่เมืองพระประแดงแห่งหนึ่ง ที่เมืองธนบุรีแห่งหนึ่ง ที่เมืองนนทบุรีแห่งหนึ่ง ที่เมืองปทุมธานีแห่งหนึ่ง ที่ขนอนหลวงใต้วัดโปรดสัตว์อีกแห่งหนึ่ง ในเวลาที่ทูตคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำนั้นมีเจ้าพนักงานลงไปเยี่ยมเยียนและส่งสิ่งของเสบียงอาหารไปเลี้ยงดู ครั้นเมื่อรับขึ้นมาถึงสำนักตามระยะทางก็มีข้าราชการไปต้อนรับทักทายทุกระยะ จนกระทั่งถึงขนอนหลวงใต้วัดโปรดสัตว์ ถึงนั่นแล้วก่อนที่จะเข้าไปในกรุง ทูตยังต้องคอยอยู่ที่ขนอนหลวงอีกหลายวัน เพราะต้องแปลพระราชสาสน์ ตรวจทำบัญชีสิ่งของเครื่องราชบรรณการ และตระเตรียมตกแต่งถนนหนทางในพระนครรับแขกเมือง และหาฤกษ์วันดีที่จะเสด็จออกรับแขกเมืองด้วย เมื่อถึงกำหนดจึงจัดเรือกระบวนแห่พร้อมด้วยเรือข้าราชการเป็นกระบวนใหญ่ลงมารับพระราชสาสน์ ทั้งทูตานุทูต และเครื่องราชบรรณาการ แห่เข้าพระนครไปขึ้นที่ท่าประตูไชย อยู่ตรงข้ามกับวัดพุทไธสวรรย์ เชิญพระราชสาสน์ขึ้นราชรถ ทูตานุทูตขึ้นเสลี่ยงบ้างตามหามบ้าง ขี่ม้าบ้าง ตามแต่บรรดาศักดิ์กระบวนช้างม้าและพลเดินเท้าแห่ไปยังพระราชวังให้ราชทูตพักคอยอยู่ ที่ศาลาลูกขุน”

จากเรื่องราวเกี่ยวกับลัษณะการพักแรมในเมืองไทยจากจารึกและจดหมายต่าง ๆ ที่ปรากฏในหลักฐานที่ยังคงหาได้พอที่จะสรุปได้ดังนี้ คือ

สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น

ได้มีการสร้างที่พักแรมชั่วคราว คงมีเพียงศาลาสำหรับคนเดินทางทั่วไป หรือผู้เดินทางอาจจะไปอาศัยบ้านญาติของตน ถ้าเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์สูงหรือแขกเมืองก็จะไปเข้าพักในวัง หรือจัดเรือนรับรองให้ใหม่เป็นสัดส่วน โดยเน้นแขกของผู้ครองนครนั้น ๆ เป็นต้น

สมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-พ.ศ. 2468)
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468- พ.ศ. 2477)
สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2489)
สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489)
โรงแรมโอเรียลเต็ล (สมัยรัชกาลที่6–สมัยรัชกาลที่ 8)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย