สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

นันทนจิต
(Leisure)

นันทนาการ นันทนจิต นันทนจิตศึกษา หมายถึงอะไร
ทำไมต้อง “นันทนจิต”
นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร
ความหมายและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ
ที่มาของคำ “นันทนจิต” แนวคิด ความหมายและคำที่เกี่ยวข้อง
อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000)
แรงกระตุ้นของนันทนจิต
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่
ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences)
สรุป
บรรณานุกรม

ทำไมต้อง “นันทนจิต”

ผู้เขียนได้พยายามคิดวิเคราะห์สาระของคำจากทฤษฎี ปรัชญาและหลักการที่เกี่ยวข้อง ความคิดก็มาสะดุดอยู่ที่คำในภาษาอังกฤษที่เป็นแนวคิดของคำคำไทยคำใหม่นี้ในแง่หนึ่ง นั่นคือ State of Mind หรือภาวะของจิต ที่คิดว่าน่าจะเป็นสาระของคำไทยที่เหมาะที่สุด ก็เลยสรุปว่าน่าจะเป็นคำไทยคำนี้สำหรับคำภาษาอังกฤษ Leisure คือคำว่า นันทนจิต เนื่องจากเรามีคำว่า “นันทนาการ” ที่มีคำว่า “นันทน” ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า “นันทน” ใน “นันทนจิต” อยู่แล้ว ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็นคำนี้ ผู้เขียนก็จะพยายามกล่าวถึงเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการวิพากษ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงวิชาการด้านนันทนาการศาสตร์กันต่อไป ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือ ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าเราน่าจะต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า “นันทนาการ” และ “นันทนจิต” กันอีกมาก เพราะความเข้าใจของคนส่วนมากเมื่อกล่าวถึงคำคำนี้ก็มักจะมองภาพว่าเป็นการให้ผู้ที่มาอยู่ร่วมกันได้เล่นเกมหรือร้องเพลงหรือมีกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานครึกครื้นเฮฮาในเวลาว่าง หรือมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคำว่า “นันทนาการ” ว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนาน เป็นงานอดิเรก ที่มีกิจกรรมอยู่ประมาณสิบกลุ่มกว่าหรือขึ้นอยู่กับแนวความคิดของแต่ละคนว่าจะเป็นกี่กลุ่มกิจกรรม รวมทั้ง อีกหลายคนที่ผู้เขียนได้เคยพูดคุยด้วยมักจะกล่าวว่า “ไม่เห็นมีอะไร” เป็นต้น ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ผู้เขียนคิดว่าน่าจะต้องมีการทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้และถูกต้อง และผู้เขียนถือเป็นโอกาสดีในการเสนอคำไทยคำใหม่เพื่อใช้ใน วงวิชานันทนาการศาสตร์กันต่อไปด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย