ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประเพณีของชาวเขาเผ่าลัวะ
เมื่อประมาณ 1,300 ปี มาแล้ว ก่อนที่พวกมอญจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เขตลุ่มน้ำแม่ปิง บรรพบุรุษของพวกละว้า ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ละว้าหรือคนไทยภาคเหนือเรียกว่า ลัวะ นั้น เป็นกลุ่มออสโตรนีเซียน และเรียกตัวเองว่าละเวียะ ถิ่นกำเนิของลัวะที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าพวกลัวะอพยพมาจากทางใต้ของประทเฯไทย มลายา หรือเขมร เมื่อประมาณ 2,000 ปี มาแล้ว บางคนเชื่อว่าพวกลัวะ เป็นเชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของพม่าและตอนใต้ของมณฑลยูนนานประเทศจีน เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษา ลักษณะทางร่างกายและการแต่งกาย
ประเพณีผีตาโขนของลัวะ
เป็นประเพณีที่เริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัย ที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพาน
เนื่องจากขณะนั้นคาดกันว่าจะมีมารและปีศาสร้ายทั้งหลายจะมาทำร้ายพระศพของพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า
ดังนี้ จึงได้ให้คนแต่งตัวเป็นผีมาเฝ้าศพของพระองค์เอาไว้
เพื่อไม่ให้มารและปีศาจร้ายทั้งหลายเลห่านั้นเห็นว่ามีผีสางเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารักษาพระศพของพระพุทธองค์ไว้
จะได้ไม่กล้ามาทำอะไร สำหรับประเพณีผีตาโขนของชาวเขาเผ่าลัวะนี้ ได้จัดกันทุก ๆ ปี
คือ จะจัดในเดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เป็นเวลา 15 วัน
พร้อมกันนั้นก็จะถวายตุง เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนำเอาเสาตุงไปตัดทำเป็นลิตรใช้สำหรับตวงข้าวสาร
ชาวเขาเผ่าลัวะมีความเชื่อว่าถ้าหากใช้ลิตรที่ทำด้วยเสาตุง
นำมาตวงข้าวสารแล้วจะทำให้ไม่สิ้นเปลือง และจะทำให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนั้น ยังป้องกันโรคระบาดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็ด หมู ไก่ วัว ควาย
ได้อีกด้วย
ประเพณีผีตาโขนของเผ่าลัวะนี้ได้สืบทอดและรักษากันมาตั้งแต่โบราณกาลเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
คัดลอกจาก เอกสารของนายอนันต์ แสงคำ เผ่าลัวะ บ้านห้วยน้ำขุ่น
ต.แม่ฟ้ากลง อ. แม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย