ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประวัติความเป็นมาของขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
ประเพณีทหารเรืออื่น ๆ
มรรยาทบางอย่างของทหารเรือ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
พิธีสวนสนามทางเรือ
เป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของทหารเรือ
ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญ ๆ
ของประเทศหรือต่างประเทศตามที่จะเห็นสมควร
พิธีสวนสนามทางเรือของกองทัพเรือ เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน
แต่ในปี พ.ศ.2457 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตก
พิธีสวนสนามทางเรือคงจะนำแบบอย่างมาจากพิธี CORONATION REVIEW
ของอังกฤษซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินภายหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
จะเสด็จพระราชดำเนินตรวจเรือ
พิธีนี้ได้กระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย
ในปี พ.ศ.2496
ทางอังกฤษได้จัดให้มีพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอาลิซาเบธที่ 2
รัฐบาลไทยได้รับเชิญให้ส่งเรือหลวงเข้าร่วมพิธีด้วย กองทัพเรือได้ส่ง ร.ล.โพสามต้น
ไปร่วมพิธีโดยได้เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496
แล้วเข้าร่วมในพิธี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2496 และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2496
ต่อมาในปี พ.ศ.2497
กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตกเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2497 ณ บริเวณบางแสน จังหวัดชลบุรี
โดยจัดเป้นกองเรือฝึกประกอบด้วยเรือหลวง จำนวน 45 ลำ โดยมีจอมพลเรือ
หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ขณะมียศ พล.ร.อ.
ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับกองเรือฝึก และมี พล.ร.อ.หลวงชำนาญ
อรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ขณะมียศ พล.ร.ท. ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
เป็นรองผู้บังคับกองเรือฝึก
ในวันที่ 31 ตุลาคม 2497 กองเรือฝึกได้รวมพล ณ บริเวณหน้าบางแสน เรือในหมวด
1 ประกอบด้วย
- เรือปืนและเรือใช้ตอร์ปิโด ได้แก่ ร.ล.สุโขทัย เป็นเรือหัวหน้าหมวด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ร.ล.ชุมพร ร.ล.ปัตตานี ร.ล.ระยอง ร.ล.กันตัง ร.ล.คลองใหญ่ ร.ล.ตากใบ เรือหมวด 1 นี้แล่นด้วยความเร็ว 10 นอต
- เรือในหมวด 2 ประกอบด้วยเรือปราบเรือดำน้ำ ได้แก่ ร.ล.บางปะกง เป็นเรือหัวหน้าหมวด ร.ล.ตองปลิว ร.ล.ลิ่วลม ร.ล.ล่องลม ร.ล.สารสินธุ ร.ล.สุครีพ ร.ล.พาลี เรือ ปร.11 ปร.12 ปร.13 ปร.14 ปร.15 ปร.16
- เรือในหมวด 2 นี้ แล่นด้วยความเร็ว 14 นอต
- เรือในหมวด 3 ประกอบด้วยเรือกวาดทุ่นระเบิด ได้แก่ ร.ล.บางระจัน เป็นเรือหัวหน้าหมวด ร.ล.หนองสาหร่าย ร.ล.บางแก้ว ร.ล.ท่าดินแดง ร.ล.ลาดหญ้า แล่นด้วยความเร็ว 12 นอต
- เรือในหมวด 4 ประกอบด้วย เรือบริการ ร.ล.อ่างทอง เป็นเรือหัวหน้าหมวด ร.ล.สีชัง ร.ล.กูด ร.ล.ไผ่ ร.ล.ปราบ ร.ล.สัตกูด แล่นด้วยความเร็ว 10 นอต และ ร.ล.อาดัง ร.ล.มัตโพน ร.ล.ราวี ร.ล.โกลำ ร.ล.ตะลิบง ร.ล.สมุย ร.ล.ปรง ร.ล.จาน แล่นด้วยความเร็ว 6 นอต
ในเวลา 10.00 น. ร.ล.แม่กลอง ได้นำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (จอมพลเรือ
ป.พิบูลสงคราม) ตรวจพลด้วยความเร็ว 10 นอต ตามเส้นทางที่กำหนดผ่าน ร.ล.สุโขทัย
เป็นเรือลำแรกผ่านเรือใน หมวด 1 และหมวด 2
ซึ่งจอดอยู่ในแถวเดียวกันระยะต่อระหว่างเรือ 300 เมตร เมื่อหมดแถวที่ 1
ซึ่งมีเรือทั้งสิ้น 22 ลำ แล้วจึงวกอ้อมผ่านเรือในหมวด 3 และหมวด 4
ซึ่งอยู่อีกแถวหนึ่ง ระยะเคียงระหว่างแถว 600 เมตร เรือในแถวที่ 2 นี้มีเรือ 19 ลำ
เวลา 11.00 น. ร.ล.สุโขทัย ชักธงระวังสมอ เรือต่าง ๆ
ที่สวนสนามชักธงระวังสมอตามแล้ว ร.ล.สุโขทัย ยิงสลุต 1 นัด เป็นสัญญาณเริ่มสวนสนาม
เรือต่าง ๆ ออกแล่นผ่าน ร.ล.แม่กลอง ในระยะ 200 เมตร ตามลำดับ เมื่อเริ่มสวนสนาม
แตรวงใน ร.ล.สุริยะ บรรเลงเพลงมาร์ช
เครื่องบินของกองทัพอากาศแปรขบวนเหนือกองเรือประมาณ 20 นาที เรือต่าง ๆ
เมื่อแล่นผ่าน ร.ล.แม่กลองแล้ว
คงแล่นต่อไปด้วยเข็มเดิมจนกระทั่งยอดเขาแหลมสามมุขอยู่ในแบริ่ง 090 องศา
จึงเลี้ยวซ้ายเปลี่ยนเข็มเป็น 270 องศา แล้วต่างหมวดต่างสั่งเรือในหมวดรวมกอง
และจัดกระบวนเดินทางกลับสัตหีบ
พิธีสวนสนามทางเรือของทหารเรือตามแบบประเทศตะวันตก ได้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2497 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นพิธีที่สำคัญของทหารเรือพิธีหนึ่ง
สถานที่ที่จะใช้ในการสวนสนามก็เปลี่ยนไปตามความเหมาะสม
ส่วนเครื่องบินที่ร่วมในพิธีสวนสนามทางเรือในปัจจุบันใช้เครื่องบินของทหารเรือ
การเคารพด้วยนกหวีดเรือ
การกระทำความเคารพท้ายเรือ
ประเพณีการเคารพของทหารเรือ
การเคารพระหว่างเรือต่อเรือ
การยิงสลุต
การอวยพรระหว่างเรือ
พิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีปล่อยเรือลงน้ำ
พิธีรับมอบเรือ
พิธีขึ้นระวางประจำการ
พิธีฉลองเรือในต่างประเทศ
พิธีสวนสนามทางเรือ
พิธีบูชาแม่ย่านางเรือ
พิธีข้ามอีเควเตอร์
พิธีปลงศพในทะเล
การตั้งชื่อเรือ
การไว้ทุกข์ของเรือ
การชักหวูดเรือ
การสละเรือใหญ่
การประดับเหรียญตราที่อกซ้าย
การตีระฆังเรือบอกเวลา
ทางเดินบนดาดฟ้าเรือ
ทางขึ้นลงเรือใหญ่
การขึ้นลงเรือใหญ่
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรือเล็ก
เครื่องแบบทหารเรือ
วิธีซ่อนทรัพย์ในเรือ
ทำไมภายในห้องเรือรบสมัยโบราณจึงทาสีแดง
ช่องกระจก