ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

สมัยรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-พ.ศ.2352)  

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพรพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมตลอดจนการมหรสพทั้งปวง โดยโปรดให้ทั้งวังหลวงและวังหน้าหัดโขนหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ.2327 ดังปรากฏใน โครงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ของพระชำนิโวหาร  แต่การมหรสพสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ ที่สุดเห็นจะเป็นการสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกกาธิบดีใน พ.ศ.2339 ปรากฏใน โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวงและเฉลิมพระเกียรติ ของกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ว่า มีโขน หุ่นหลวง ละคร และงิ้วประชันกัน  

หุ่นหลวงที่เล่นนำเนื้อเรื่องมาจากละครนอก โดยเล่นประชันกันมี 2 โรงคือ เรื่อง  โสวัต โรงหนึ่ง กับเรื่อง ไชยทัต อีกโรงหนึ่ง ส่วนตามช่องระทาก็มีการแสดงโขน หุ่นไทย หนัง งิ้ว หุ่นจีน หุ่นลาว หุ่นทวาย หุ่นมอญและหุ่นพม่า แสดงให้เห็นว่าหุ่นออกภาษาได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น  

และในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1159 หรือ พ.ศ.2340 บันทึกไว้ว่า มีการแสดงหุ่นหลวงเป็นเครื่องมือมหรสพ ในงานสำคัญต่างๆ หลายครั้ง เช่น งานฉลองวัดพระเชตุพนฯ และงานพระเมรุของบุคคลสำคัญในรัชกาลนี้หลายท่าน เช่น การศพพระยานครราชสีมา ณ วัดสุวรรณคงคาธาราม เมื่อ พ.ศ.2340    

      นอกจากนี้วรรณคดีเรื่อง สุบินกุมารกลอนสวด เลขที่ 35 ซึ่งเป็นวรรณคดีเล่มหนึ่งที่ประพันธ์ขึ้นในรัชกาลที่ 1 ได้แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของการเล่นหุ่นในสมัยนั้นว่า มีการสร้างสรรค์ความคิดแปลกใหม่มาใช้กับการแสดงหุ่น เช่น ใช้ตัวหุ่นชักรอก ซึ่งเป็นหุ่นที่มีบทต้องเหาะเหินเดินอากาศตามท้องเรื่อง

สมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-พ.ศ.2367)   

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม ด้วยพระองค์ทรงเป็นทั้งกวีและศิลปะแทบทุกแขนง ตลอดยุคสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่ศิลปวัฒนธรรมของชาติได้รับการฟื้นฟูให้เจริญรุ่งเรือง การมหรสพที่เริ่มฟื้นฟูในรัชกาลก่อนกลับมารุ่งเรืองในรัชกาลนี้เช่นกัน และที่สำคัญพระองค์ยังทรงแกะหัวหุ่นพระยารักใหญ่และพระยารักน้อยด้วยไม้รักด้วยพระองค์เอง    

เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแสดงฝีพระหัตถ์แกะหัวหุ่นพระยารักใหญ่และพระยารักน้อย ปรากฏหลักฐานในสาส์นสมเด็จ เล่ม 1 พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ    

นอกจากพระองค์จะทรงมีฝีพระหัตถ์ในการสร้างศีรษะหุ่นด้วยพระองค์เองแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้ระดมช่างฝีมือสร้างหัวหุ่นหลวงขึ้นใหม่ซึ่งปัจจุบันยังหลงเหลืออยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ    

การแสดงหุ่นหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2 คงเป็นที่นิยมมาก เพราะได้มีการกล่าวไว้ในบทละครพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ซึ่งแต่งในยุคนั้นว่า ก่อนที่จะมีการเล่นมหรสพของหลวงจะต้องมีหมายรับสั่งให้เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบเรื่องการปลูกโรง ได้แก่ สมุห์บัญชีจัตุสดมภ์ทั้ง 4 เบิกไม้ต่อชาวรพระคลังราชการ กั้กฝาค้ำในโรงโขนหุ่น แล้วปลูกโรงมหรสพ ดังปรากฏในตอนที่กล่าวถึงงานรพระเมรุเมืองหมันหยา   

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการเล่นหุ่นต่างภาษาในตอนอภิเษกอิเหนาและราชธิดาสี่พระนคร สันนิษฐานว่าหุ่นต่างภาษาคงจะหมายถึงหุ่นจีน เพราะมีบทบรรยายว่ามีการเล่นหุ่นจีนตามช่องระทา   

อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่เป็นหมายรับสั่งในรัชกาลที่ 2 หลายฉบับชี้ให้เห็นว่า การเล่นหุ่นหลวงเป็นมหรสพซึ่งเกี่ยวข้องกับการแสดงประกอบงานพระเมรุ และแสดงให้เห็นว่ายังคงมีการเล่นหุ่นเป็นมหรสพร่วมกับการละเล่นอื่นๆ

สมัยรัชกาลที่ 3(พ.ศ.2367-พ.ศ.2394)  

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่การมหรสพซบเซา เพราะพระองค์ไม่โปรดการละคร โขน หุ่น แต่กระนั้นการมหรสพของหลวงก็ยังคงมีเล่นอยู่ตามประเพณี ดังปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 ว่ายังมีมหรสพของหลวงเล่นในงานพระเมรุอยู่ อาทิงานพระศพสมเด็จพระศรีสุลาไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง จ.ศ.1200 (พ.ศ.2381) งานศพเจ้รจอมมารดาชั้น ณ เมรุวัดอรุณราชวราราม จ.ศ.1206 (พ.ศ.2387)  

นอกจากนั้นยังมีการเล่นหุ่นหลวงในงานฉลองพระอาราม เช่น ใน จ.ศ.1193 (พ.ศ.2375) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการฉลองวัดที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์จำนวน 9 วัด คือวัดราชโอรสาราม วัดราชสิทธิธาราม วัดสุวรรณาราม วัดภคินีนาถ วัดอรุณราชวราราม วัดระฆัง วัดสระเกศ วัดพญาธรรม  และวัดโมลีโลก โดยมีมหรสพ สมโภชคือ โขน หุ่น ระบำ และดอกไม้ไฟ ดังปรากฏในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารค   

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการมหรสพ โขน หุ่น หนัง ในรัชกาลที่ 3 ยังมีปรากฏในคำให้การจีนกั๊กหรือที่รู้จักกันในปัจจุบันตามชื่อเรียนใหม่ว่า บาหลี   กล่าวคือ เมื่อ จ.ศ. 1208 (พ.ศ.2389) พระยาสวัสดิวารีแต่งสำเภาให้จีนกั๊กไปค้าขายที่เกาะบาหลี เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ จึงโปรดให้ถามคำให้การ จีนกั๊กเล่าว่าเจ้าเมืองถามว่าที่กรุงเทพฯมีหนังละครอย่างนี้หรือไม่ จีนกั๊กตอบว่าที่กรุงเทพฯมีโขน ละคร หนัง งิ้ว   

เรื่องหุ่น จีนกั๊กอธิบายว่า หุ่นนั้นเอาไม้มาทำเป็นรูปคน ชายบ้าง หญิงบ้าง รูปลิงบ้าง รูปสัตว์ต่างๆ บ้าง สูงประมาณศอกคืบมีคนชักสายกระดิกรำได้เหมือนคนโรงหนึ่ง 40 ตัว 50 ตัว คนเล่นประมาณ 50 คน 60 คน เครื่องแต่งตัวโขน ถ้าจะเล่นก็มีปี่พาทย์สองสำหรับ คนสำหรับเจรจา 4 คน 5 คน เหมือนกับโขน

สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-พ.ศ.2411)   

ล่วงเข้าต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหุ่นหลวงที่สร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถเล่นได้งานสมโภชพระวิสูตรรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท ในจ.ศ.1216 (พ.ศ.2397)จึงต้องนำหุ่นส่วนพระองค์ออกเล่นแทน    

หลังจากนั้นคาดว่ากรมมหรสพและกรมหุ่นของหลวงคงรีบจัดการซ่อมแซมหุ่นหลวงอย่างเร่งด่วนและอาจสร้างเพิ่มเติมบ้าง ต่อจากนั้นหุ่นหลวงก็ได้เล่นในงานพระเมรุจนตลอดรัชกาล    

ต่อมาในปี จ.ศ.1225 (พ.ศ.2406)พระเจ้าพี่ยา กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เจ้ากรมหรสพและกรมหุ่นหลวงสิ้นพระชนม์ลงพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ พระโอรสได้ว่าการกรมมหรสพและกรมหุ่นของหลวงสืบต่อมาจนตลอดรัชกาล   

ในงานพระศพพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพมาตั้งที่พระเมรุแล้วพระราชทานเพลิง ณ ท้องสนามหลวง คาดว่าการมหรสพของหลวงคงมีการจัดมาเล่นกันเป็นการใหญ่รวมทั้งหุ่นในกรมด้วย  

ในรัชกาลนี้ได้มีประกาศว่าด้วยละครผู้หญิง ในตอนต้นรัชกาลอนุญาตให้ราชวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่น้อยเล่นละครผู้ชายผู้หญิงได้ ด้วยทรงเห็นว่ามีละครหลายรายบ้านเมืองจะได้ครึกครื้นและเป็นเกียตริยศแก่แผ่นดิน ทำให้ละครผู้หญิงหลายโรงและเกิดบทละครใหม่หลายเรื่อง  

เมื่อเจ้าของละครได้รับผลประโยชน์มากขึ้นเพราะคนนิยม จึงได้เกิดภาษีละครขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2402 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเล่นหุ่นด้วยเพราะต้องเสียภาษีตามไปด้วย กล่าวคือ ทั้งหุ่นไทยและหุ่นจีนต้องเสียภาษีวันละ1 บาท ประเพณีนิยมเกี่ยวกับการเล่นหุ่นนอกจากปรากฏในหนังสือราชการแล้ว ยังมีเนื้อความกล่าวถึงในวรรณคดีไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งในรัชกาลที่ 4 อีกหลายเรื่อง อาทิ สุทธิกรรมชาดก คำกาพย์ กล่าวถึงการเล่นหุ่นว่าเป็นเครื่องมหรสพอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมยิ่งในสมัยนั้นทั้งหุ่นหลวงและหุ่นจีน

สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-พ.ศ.2453)  

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ่นหลวงยังคงเป็นมหรสพเล่นตามงานประเพณีทั้งในงานพระเมรุและงานสมโภชฉลอง และในรัชกาลนี้เองได้เริ่มมีการนำหุ่นกระบอกมาเชิดแสดงเป็นครั้งแรก จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นยุคที่ความเจริญรุ่งเรืองของการเล่นหุ่นดำเนินมาถึงขีดสุด ดังปรากฏในหลักฐานต่างๆ อาทิ   

หลักฐานสิ่งพิมพ์สำคัญในสมัยรัชกาลที 5 ซึ่งบันทึกการพระราชพิธีและเหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ คือ ราชกิจจานุเบกษา ได้บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับการเล่นหุ่นปรากฏแรกเริ่มในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 4 บันทึกการแสดงหุ่นเป็นเครื่องเล่นมหรสพในงานบรรจุพระเจดีย์บรมพรตในจุลศักราช 1239 หรือ พ.ศ.2420 ว่ามีการเล่นหุ่นจีนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเองเชิดแสดงเป็นเวลาครึ่งคืนกันหนึ่งวัน   

ในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 5 จุลศักราช 1231 เรื่องเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสู่พระเมรุมาศ หมายรับสั่งฉบับนี้กล่าวถึงงานพระเมรุกลางเมือง ณ ท้องสนามหลวงที่มโหฬารที่สุด ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการแสดงมหรสพเครื่องเล่นสมโภชพระบรมศพคือ โขน หุ่น หนัง โรงรำ มอญรำ งิ้ว สิงโต มังกร ไม้ต่ำสูง ดาบยวน และนอนร้านหอกดาบ  

มีข้อน่าสังเกตคือ หุ่นกระบอกที่ใช้เล่นเชิดแสดงเป็นการมหรสพในงานพระเมรุสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมเล่นในงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอเป็นส่วนใหญ่  แต่ในงานรพระเมรุเจ้านายลำดับชั้นพระวงศ์อื่นๆ นิยมเล่นเฉพาะหุ่นหลวงตามประเพณีที่มีมาแต่เดิม     

หลักฐานที่เป็นเอกสารทางราชการซึ่งได้กล่าวถึงการแสดงหุ่นในรัชกาลที่ 5 อีกอย่างหนึ่งคือ เอกสารนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นหุ่นบันทึกไว้อย่างน่าสนใจว่าในปี พ.ศ.2425 มีพิธีสมโภชพระนครครบ 100 ปี ได้มีการเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงกรมแล้วทำระทาใหญ่ งานฉลองสมโภชพระนครนี้คงฉลองเป็นระยะๆ เพราะมีรับสั่งให้ออกหมายบอกผู้ต้องเกณฑ์ทำโรงโขน งิ้ว หุ่น ละครทั้งหลายท้องสนามหลวงนั้น ให้รอไว้งานหลัง มิให้รื้อเมื่อเสร็จงานครั้งแรก  

นอกจากนั้นวรรณดดีที่เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ เช่น บทละครคึกดำบรรพ์  พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เรื่อง สังข์ศิลป์ชัย ตอนเข้าเมือง ก็มีเนื้อความกล่าวถึงการเล่นหุ่น โดยจับเรื่องดำเนินเมื่อพระสังข์ศิลป์ชัยเสด็จชมการแสดง ตำรวจเรียกกรมหุ่นให้ลงโรงเล่นเชิดหุ่นโดยจับเรื่องรามเกียรติ์เล่นตอน เข้าสวนพิราธ ในตอนที่ตัวหุ่นกระบอกคือ พระลักษณ์ นางสีดา ลำพระรามเชิดแสดง  

   เอกสารและบันทึกหลักฐานที่ได้ยกมานั้นแสดงให้เห็นว่าประเพณีการแสดงหุ่นหลวงเป็นมหรสพสำคัญในงานพระเมรุของบุคคลสำคัญที่มีอยู่ตลอดกาล และได้เริ่มมีการนำหุ่นกระบอกมาแสดงเป็นเครื่องมหรสพพร้อมกับหุ่นหลวง ตลอดจนการละเล่นอย่างอื่นทั้งในงานฉลองสมโภชและงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอลงมาจนกระทั่งแสดงในการศพบุคคลสำคัญๆ

สมัยรัชกาลที่ 6(พ.ศ.2453-พ.ศ.2468)  

ในรัชกาลนี้เมื่อปี พ.ศ.2454 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้กรมโขนและและกรมปี่พาทย์มารวมกัน  โดยสังกัดอยู่กับกรมหรสพเป็นกรมเดียว  

เดิมทั้งสามกรมอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าพระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ เมื่อผู้ดูแลเจ็บป่วยต้องลาออกจากราชการ กรมทั้งสามจึงขาดผู้ดูแล เอาใจใส่ เมื่อมารวมเป็นกรมมหรสพเดียวกันก็โปรดฯให้หลวงสิทธินายเวรเป็นเจ้ากรมเดียว  

เดิมทั้งสามกรมอยู่ภายใต้การดูแลเจ็บป่วยต้องลาออกจากราชการ กรมทั้งสามจึงขาดผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อมารวมเป็นกรมมหรสพเดียวกันก็โปรดฯให้หลวงสิทธินายเวรเป็นเจ้ากรม  หุ่นหลวงในรัชกาลนี้สันนิษฐานว่า จะไม่ได้นำออกแสดงอีกเลย จนสิ้นรัชกาล เมื่อหุ่นหลวงเลิกเล่นได้มีหุ่น เลียนอย่าง

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย