ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะมีหุ่นหลวงของหลวงแล้ว
ยังปรากฏว่ามีหุ่นอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีความงดงามและเป็นที่รู้จักกันดีคือ
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กรมพระราชวังบวรฯได้โปรดให้สร้างหุ่นไทยขึ้นในภายหลัง
เดิมหุ่นทั้งสองชนิดคงแสดงเป็นเครื่องบันเทิงอยู่ในวังหน้า
แต่ก็ได้จัดไปแสดงในงานอื่นๆด้วยตามพระประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของ เช่น
ในงานวันสมภพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อครบรอบ 71 ปี ใน พ.ศ.2421
หุ่นจีนที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโปรดให้สร้างขึ้นนั้น เป็นหุ่นขนาดสูง 1
ฟุตเศษตามบัญชีที่พระที่นั่งทักษิณาภิมุขบอกชนิดของหุ่นว่าเป็นหุ่นผ้า
แต่ตัวละครมีขนาดความสูงไม่เท่ากัน หุ่นตัวใหญ่สุดถึง 44.1 เซนติเมตร
ส่วนตัวเล็กที่สุดสูงเพียง 23 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นหุ่นผู้ชายมีหุ่นผู้หญิงเพียง
5 ตัว หุ่นพวกนี้แต่งกายเหมือนงิ้ว คือ สวมเสื้อผ้ายาวถึงเท้า
เข้าใจว่าคงจะเหมือนกับหุ่นจีนที่เคยมีมา
เครื่องแต่งกายหุ่นจะบ่งบอกถึงฐานะของหุ่น เช่น ฮ่องเต้ ขุนนาง นักรบ คนสามัญ
ตัวตลก ตัวหุ่นที่มีฐานะสูงศักดิ์จะสวมเสื้อผ้าและเครื่องประดับงดงาม
ส่วนใบหน้าหุ่นจะคล้ายงิ้วโดยเขียนหน้าแบบต่างๆ กัน บางตัวเป็นหน้าคนธรรมดา
บางตัวมีหัวเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามเนื้อเรื่องที่ใช้เชิดแสดง เช่น เสือ ควาย
ช้าง หมูฯลฯ
นอกจากจะทรงโปรดให้สร้างหุ่นแล้ว
กรมพระราชวังวรวิไชยชาญยังทรงพระราชนิพนธ์บทเล่นหุ่นด้วย
โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องจีนแต่ใช้ภาษาไทยเขียนบท
อย่างไรก็ตาม
ในยุคนี้หุ่นจีนคงเป็นที่นิยมมาก
เพราะมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็โปรดทอดพระเนตรหุ่นจีนด้วย
ส่วนหุ่นไทยของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนั้นคงสร้างขึ้นหลังจากที่ทรงสร้างหุ่นจีนขึ้นแล้ว
โดยโปรดให้สร้างหุ่นไทยเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นชุดหนึ่ง
ให้มีกลไกสายโยงคล้ายหุ่นหลวงแต่ย่อขนาดลงให้สูงประมาณ 1 ฟุตเท่าหุ่นจีน
ลักษณะหุ่นไทยมีชุดหน้าตา ลำตัว แขนและขาครบ และสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งหัว ข้อมือ
ข้อศอกและขา ส่วนแกนไม้สำหรับคนเชิดถือก็คล้ายหุ่นหลวง
คือก้านไม้ทะลุตัวหุ่นลงมาด้านล่างและมีเชือก 16
เส้นร้อยต่อจากอวัยวะต่างๆของหุ่นลงมาตามแกมไม้สำหรับจับเชิด
ปัจจุบันหุ่นไทยของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
จำนวน 53 ตัว คือ หุ่นตัวพระ นาง ยักษ์ ลิงและยังมีหุ่นที่ชำรุดอีกเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเก็บไว้ในหีบไม้ขนาดใหญ่บนคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม
หุ่นหลวงคงจะเลิกเล่นภายหลังจากทีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี
พ.ศ.2453 เนื่องจากมีการยุติมหรสพการละเล่นทั้งปวงที่ใช้ประกอบงานพระเมรุ ณ
ท้องสนามหลวง เป็นเหตุสืบเนื่องให้การละเล่นและมหรสพหลายอย่าง
รวมทั้งการแสดงหุ่นหลวงไม่มีปรากฏแก่สายตาของสาธรณชนในเวลาต่อมา
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก