ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

หุ่นกระบอกนายเปียก

   หุ่นกระบอกนายเปียก ประเสริฐกุล เป็นหุ่นกระบอกคณะที่ได้ดำรงกิจการการแสดงไว้ยาวนาน และเป็นหุ่นกระบอกที่เผยแพร่ศิลปะการแสดงประเภทนี้ให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ  เดิมนายเปียกอาศัยอยู่บ้านของหม่อมราชวงศ์เถาะมาตั้งแต่เยาว์วัย  ได้เชิดหุ่นกระบอกด้วยความตั้งใจและอดทน จนกระทั่งมีความสามารถในการเชิดหุ่นได้ทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวพระ นาง ลิง ยักษ์ หรือแม้กระทั่งตัวตลก   และในปี พ.ศ.2436 คราวงานพระราชพิธีมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังบางะอิน นายเปียกได้มีโอกาสเชิดหุ่นกระบอกถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2442 นายเปียกจึงได้ตั้งคณะหุ่นกระบอกของตัวเองขึ้นและได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนในยุคสมัยนั้น แม้กระทั้งปัจจุบันหุ่นกระบอกคณะนายเปียกก็ยังคงสืบสานศิลปะการเล่นหุ่นกระบอกอยู่โดยมีครูชื้น สกุลแก้ว บุตรีของนายเปียกเป็นผู้สานต่อลักษณะหุ่นกระบอกคณะนายเปียกมีขนาดใหญ่กว่าหุ่นกระบอกของพระยาสุนทรเทพระบำ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของครูชื้น สกุลแก้ว

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย