วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
ประเภทของวิทยาศาสตร์
พัฒนาการของวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญทางวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product)
ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process)
ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่าเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์
จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่าถูกต้องจากการทดสอบหลายๆ ครั้ง
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท สรุปได้ดังนี้
- ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สังเกตได้โดยตรง
และจะต้องมีความเป็นจริงสามารถทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง เช่น
น้ำเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
ข้อเท็จจริงแต่ละอย่างมีความหมายมากหรือน้อยต่างกัน
แต่หากนำมารวมกันแล้วอาจทำให้มีความหมายมากขึ้น เกิดความรู้เพิ่มขึ้น
- ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ
ส่วนที่เกี่ยวข้องมาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่ ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์
อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการแบ่งประเภท เป็นการกำหนดสมบัติร่วมของสิ่งต่างๆ ไว้เป็นพวกๆ เพื่อใช้ในการบรรยายถึงสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจตรงกัน
- ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของ ความคิดรวบยอดย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นผลในการนำมาพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้า
- ความคิดรวบยอดทางทฤษฎี เป็นการกำหนดสิ่งที่มองไม่เห็น แต่รู้ว่ามีสิ่งนั้นจริง เพราะมีหลักฐานสนับสนุนว่าเป็นจริง
- ความจริงหลักหรือหลักการ คือ
กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้
คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถนำมาทดลองซ้ำได้ผลเหมือนเดิม
- กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่งแต่เป็นข้อความที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล
แต่มักแทนความสัมพันธ์ในรูปสมการ
- สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ
หรือข้อความหรือแนวคิดที่แสดงการคาดคะเนในสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกต
- ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ ซึ่งอาจเขียนในรูปแบบ (Model) เพื่อใช้อธิบายหรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตของทฤษฎีนั้น การยอมรับว่าทฤษฎีใดเป็นความจริงหรือไม่ พิจารณาจากทฤษฎีนั้นจะต้องอธิบายกฎ หลักการ และข้อเท็จจริงย่อยๆ ที่อยู่ในขอบเขตทฤษฎี หรือทฤษฎีนั้นจะต้องอนุมานออกไปเป็นกฎ หรือหลักการได้ และทฤษฎีนั้นจะต้องพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่อาจเกิดตามมาได้