ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประเพณีการสู่ขวัญ
ประเภทของการสู่ขวัญ
การสู่ขวัญสัตว์
การสู่ขวัญสิ่งของ
การประกอบพิธีสู่ขวัญ
ขั้นตอนการประกอบพิธีสู่ขวัญ
ตุง
ประเภทของตุง
พิธีทอดผ้าป่า
การสู่ขวัญสิ่งของ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อถือที่ว่า สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ มีประโยชน์ต่อชีวิตของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการสู่ขวัญให้กับสิ่งของเหล่านี้เพื่อเป็นการสำนึกในบุญคุณ ชาวบ้านเชื่อว่าการสู่ขวัญสิ่งของจะทำให้ผู้เป็นเจ้าของมีความสุข มีลาภ เป็นสิริมงคลแก่เจ้าของต่อไป ซึ่งการสู่ขวัญสิ่งของแยกได้ดังนี้
- การสู่ขวัญเฮือน คือ
การนำเอาพิธีและขั้นตอนการสร้างบ้านเรือนมาพูดที่ในประชุม
เพื่อให้คนที่มาในพิธีรู้จักสร้างบ้านให้เป็นสิริมงคล
ถ้าบ้านเรือนทำไม่ถูกแบบก็จะนำแต่ความไม่เป็นมงคลมาให้
- การสู่ขวัญเกวียน เกวียนเป็นพาหนะใช้สำหรับลากเข็น
การสู่ขวัญเกวียนก็เพื่อให้เป็นสิริมงคลและมั่นคง
และสอนให้เจ้าของรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
- การสู่ขวัญข้าว มักทำกันในเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ชาวบ้านเชื่อว่า "กินบ่บก จกบ่ลง" (กินเท่าไหร่ ไม่รู้จักหมด) ชาวบ้านจะสู่ขวัญข้าวก่อนทำพิธีเปิดเล้า (ยุ้ง) ข้าว นำมากิน จะทำการสู่ขวัญก่อน เพื่อเป็นสิริมงคล จะทำให้สามารถผลิตข้าวในปีต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดภาวะอดอยาก
ประเพณีการสู่ขวัญของชาวร้อยเอ็ด ที่ทำในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่เพียงการสู่ขวัญบางประเภท เท่านั้น เช่น การสู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญข้าว สู่ขวัญคนธรรมดา และสู่ขวัญควายและวัว ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ของสังคมในปัจจุบัน สัตว์และสิ่งของบางอย่างได้หมดความสำคัญในชีวิตประจำวันของชาวร้อยเอ็ดไปแล้ว จึงค่อยๆ เลิกไปในที่สุด