วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

เทคนิคทางอณูชีววิทยา

เทคนิคพื้นฐานทางอณูชีววิทยา
Electrophoresis
Paper electrophoresis และ Gel electrophoresis
การเคลื่อนย้าย DNA จากแผ่นวุ้นลงไปบนกระดาษ (DNA Blotting)
DNA Probe และ Hybridization
Restriction Endonuclease
การเพิ่มจำนวน DNA โดยวิธี PCR (Polymerase chain reaction)
เทคนิค DNA cloning
การเชื่อมต่อชิ้นส่วน DNA กับ cloning vector เพื่อให้ได้ recombinant DNA
การนำ recombinant DNA เข้าสู่ host cell (transformation)
การคัดเลือก clone ที่มี gene ที่ต้องการ
เทคนิคในการตรวจสอบ DNA (DNA identification)
เทคนิคในการหา DNA sequence
เทคนิคทางอณูชีววิทยาที่ให้ผลผลิตที่ใช้ในทางการแพทย์
หนังสืออ้างอิง

การคัดเลือก clone ที่มี gene ที่ต้องการ

การคัดเลือกโคลนที่มียีนที่ต้องการอาจทำได้ 3 วิธีใหญ่ๆ คือ

  1. การคัดเลือกโดยอาศัยลักษณะ phenotype วิธีการนี้จะต้องอาศัยการแสดงออกของยีนและการสร้างโปรตีนออกมา ดังนั้นการโคลนยีนจะต้องได้ชิ้น DNA ที่ใหญ่พอให้ได้ยีนครบและยีนต้องแสดงออกใน host นั้นได้ การคัดเลือกจะต้องอาศัยคุณสมบัติของโปรตีนที่เป็นผลิตผลของยีนนั้นๆ เช่น อาจอาศัยดูโซนใสรอบโคโลนี ดูการเจริญเติบโตบนอาหารจำเพาะ หรืออาศัยการทำปฏิกิริยาของโปรตีนนั้นกับสารเคมีบางตัว เป็นต้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงค่อนข้างจำเพาะเจาะจงและแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติของยีน
  2. การทำ hybridization ระหว่าง DNA ซึ่งเราตรวจสอบได้โดยการติดฉลากสารรังสีบน DNA ตรวจสอบ (probe) DNA ตรวจสอบอาจเป็นสาย DNA ที่เป็นส่วนหนึ่งของยีนที่ต้องการ การสร้าง DNA ตรวจสอบนั้นปัจจุบันนิยมสังเคราะห์เอง กระทำได้ดังนี้

    ขั้นตอน คือ หาลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนจากยีนที่ต้องการจะ clone เช่น อาจหาจากลำดับเบสสัก 6-7 ตัว แล้วจึงย้อนกลับไปดูรหัสกรดอะมิโนเหล่านั้น แล้วจึงสังเคราะห์นิวคลีโอไทด์ขึ้นมาใช้เป็น DNA ตรวจสอบหรือ DNA ติดตาม เพื่อหายีนที่ต้องการโดยวิธี hybridization ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการ replica จากจานเลี้ยงเชื้อสู่แผ่น membrane ที่ทำด้วย nitrocellulose หรือ nylon, หลังจากนั้นจึงทำให้เซลล์แตกและนำมา hybridization กับ DNA ติดตามที่ติดฉลากด้วยสารรังสี
  3. วิธีทางอิมมูโนวิทยา โดยการใช้แอนตี้บอดี้ของโปรตีนจากยีนที่ต้องการ วิธีการคือ ถ่ายเชื้อจากจานเลี้ยงเชื้อบนแผ่น membrane เช่นเดียวกับวิธีที่ 2 เสร็จแล้วทำให้เซลล์รั่วออกด้วยไอคลอโรฟอร์ม หลังจากนั้นไปทำปฏิกิริยากับแอนตี้บอดี้ที่ติดฉลากด้วยไอโอดีน 125 (I125) โคโลนีใดมียีนและสร้างโปรตีนจากยีนที่ต้องการได้ ก็จะจับกับแอนตี้บอดี้ที่มี I125 เกาะอยู่ และจะปรากฏเป็นจุดดำบนฟิล์ม x-ray

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย