ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
โครงสร้างภายในของโลก
เปลือกโลก
การกระจายของทวีปและแอ่งสมุทร
สัดส่วนระดับความสูงของภูมิประเทศของโลก
ลักษณะภูมิประเทศลำดับที่สองของแอ่งสมุทร
ลักษณะภูมิประเทศลำดับที่สองบนทวีป
ตารางเวลาทางธรณีวิทยา
การแปรโครงสร้างแบบแผ่นลากเลื่อนลอยของทวีป
เปลือกโลก
เปลือกโลก (Crust) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดและบางที่สุดมีความหนาประมาณ 5-25 ไมล์ (8-40 กม.) ส่วนมากประกอบไปด้วยหินอัคนี ฐานของเปลือกโลกที่สัมผัสอยู่กับเปลือกโลกชั้นในนั้นมีลักษณะเป็นชั้นอย่างเด่นชัด ข้อเท็จจริงนี้มีข้อพิสูจน์จากการเคลื่อนที่ของแผ่นดินไหวเปลี่ยนความเร็วทันที่เมื่อถึงบริเวณนั้น ผิวที่แบ่งกับเปลือกโลกและเปลือกโลกชั้นในเรียกว่า โมโฮ (Moho) เป็นชื่อสั้น ๆ ของคำว่า โมโฮโรวิซิค (Mohorovicic) ซึ่งเป็นชื่อนักฟิสิกส์ที่ค้นพบระนาบนี้
รูปโครงสร้างภายในของเปลือกโลก
ชั้นเปลือกโลกบริเวณที่เป็นตัวทวีปจะหนากว่าชั้นที่เป็นเปลือกโลกบริเวณพื้นมหาสมุทรและสภาพเหมือนภูเขาน้ำแข็งขนาดหึลอยอยู่เหนือน้ำในมหาสมุทร
โดยมีส่วนที่โผล่เหนือระดับน้ำเพียงเล็กน้อย
เนื่องจากเปลือกโลกชั้นในมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ คล้ายกับของเหลวที่หนืดมากๆ
เป็นผลให้ชั้นเปลือกโลกที่เบากว่าและอยู่ด้านบน และแข็งประกอบไปด้วยแผ่นทวีป
(Cotinental plate) ค่อยๆเคลื่อนที่ไปด้วยคล้ายๆกับภูเขาน้ำแข็งลอยน้ำนั้นเอง
รูปแรงดุลภาพน้ำหนักหินทำให้แผ่นทวีปสูงกว่ามหาสมุทร