ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
โครงสร้างภายในของโลก
เปลือกโลก
การกระจายของทวีปและแอ่งสมุทร
สัดส่วนระดับความสูงของภูมิประเทศของโลก
ลักษณะภูมิประเทศลำดับที่สองของแอ่งสมุทร
ลักษณะภูมิประเทศลำดับที่สองบนทวีป
ตารางเวลาทางธรณีวิทยา
การแปรโครงสร้างแบบแผ่นลากเลื่อนลอยของทวีป
สัดส่วนระดับความสูงของภูมิประเทศของโลก
ก่อนที่กล่าวถึงการแบ่งลักษณะภูมิประเทศลำดับที่ 2
บนพื้นทวีปและแอ่งสมุทรเราจะพิจารณาสัดส่วนระดับความสูงที่แท้จริงของระดับความสูงระดับภูมิประเทศบนผิวโลกเปรียบเทียบกับทรงกลมโลก
ลูกแสดงภูมิประเทศแบบดุนนูน
หรือแผนที่ภูมิประเทศแบบดุนนูนนั้นจะมีความคลาดเคลื่อนในแนวดิ่ง (Vertical
exaggeration) อยู่มาก (หมายถึง
ความสูงที่ปรากฏในแผนที่หรือลูกโลกจะสูงกว่าความเป็นจริงเมื่อคำนวณจากมาตราส่วนของแผนที่หรือลูกโลก
ถ้าสร้างภาพตัดด้านข้างของโลกด้วยมาตราส่วนจริง คือ
มาตราส่วนทางราบเท่ากับมาตราส่วนทางดิ่ง) ด้วยการเขียนวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 21 ฟุต
(6.4 เมตร) ด้วยชอล์ค แทนเส้นรอบวงของโลกในมาตราส่วน 1:2,000,000 เส้นชอล์คจะหนา
3/8 นิ้ว (0.15 ซม.) จะเป็นความหนาที่แทนระดับความสูงทั้งหมดของเปลือกโลก
แม้แต่ส่วนที่สูงที่สุดของโลก ณ ยอดเขาเอเวอเรสต์ (+29,000 = + 8,8400 ม.)
และส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรเท่าที่มนุษย์ทราบด้วย (ต่ำกว่า -35,000 ฟุต = -
10,700 เมตร) ดังนั้นเมื่อมองโลกจากระยะไกลจึงเห็นรูปร่างเป็นทรงกลมผิวเรียบ
เสมือนว่าไม่มีภูเขาและเทือกเขาอยู่เลย
รูปกราฟแสดงความสูงของเปลือกเทียบจากระดับน้ำทะเลปานกลาง